•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทำให้การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดผิดปกติและเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง แต่ยังไม่มีการศึกษาผลของบุหรี่ต่อการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและการประเมินหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทยมาก่อนวัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและการประเมินหลอดเลือดแดงแข็งของผู้ที่สูบบุหรี่วิธีการทำวิจัย : อาสาสมัครที่มีสุขภาพดี อายุ 20 - 60 ปี ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่จำนวน 72 ราย ประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ด้วยflow mediated dilatation (FMD) และประเมินหลอดเลือดแดงแข็งด้วย cardio-ankle vascular index (CAVI)ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มที่สูบบุหรี่มีการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่ดัชนีความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง (CAVI) และดัชนีความแข็งของหลอดเลือด (ankle brachial index; ABI) ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่และกลุ่มที่สูบบุหรี่สรุป : การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดลดลงในผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีการสูบบุหรี่ระดับต่ำ ดังนั้นการประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดอาจใช้เป็นการคัดกรอง ในผู้ที่สูบบุหรี่ก่อนที่จะดำเนินไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

1013

Last Page

1022

Share

COinS