•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

การสูญเสียการได้ยินในเด็กเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของระบบสาธารณสุข ซึ่งถ้าได้รับการตรวจพบและให้การดูแลอย่างทันท่วงทีจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านภาษาและพัฒนาการอื่น ๆของเด็ก เป้าหมายในการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กทารกควรจะได้รับการคัดกรองการได้ยินก่อนอายุ 1 เดือน ทารกที่ตรวจคัดกรองเบื้องต้นไม่ผ่านควรได้รับการยืนยันว่าสูญเสียการได้ยินภายในอายุ3 เดือน และควรได้รับการฟื้นฟูการได้ยินภายในอายุ 6 เดือน ปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กมี 2 ชนิด คือ automated evoked otoacoustic emission และ automatedauditory brainstem response ส่วนการตรวจเพื่อยืนยันการสูญเสียการได้ยินนั้นประกอบด้วยการตรวจหลายชนิดร่วมกันทั้ง diagnostic evoked otoacoustic emission, diagnostic auditory brainstemresponse และ Tympanometry นอกจากนี้เด็กควรได้รับการตรวจหาสาเหตุการสูญเสียการได้ยินซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม การติดเชื้อขณะอยู่ในครรภ์และแรกคลอด การได้รับยาบางชนิดที่ส่งผลต่อหู ฯลฯ เด็กที่ผ่านการประเมินการได้ยินยังต้องได้รับการติดตามประเมินพัฒนาการทางด้านภาษาที่อายุ 9, 18, 24 - 30 เดือน หรือเมื่อผู้ปกครองสงสัยว่ามีปัญหาการได้ยิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยินควรได้รับการตรวจประเมินการได้ยินอีกครั้งที่อายุประมาณ 24 - 30 เดือน เนื่องการสูญเสียการได้ยินอาจเกิดในภายหลังได้ เด็กที่บกพร่องทางการได้ยินควรได้รับการฟื้นฟูการได้ยินและกระตุ้นพัฒนาการ ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์ช่วยฟังหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยฟังชนิดฝังในกระดูก และประสาทหูเทียมอย่างไรก็ตามเนื่องจากประเทศไทยมีข้อจำกัดทั้งด้านบุคลากรทางการแพทย์ นักตรวจการได้ยินเครื่องมือที่ใช้ตรวจคัดกรองและประเมินการได้ยิน การเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยฟังซึ่งส่วนใหญ่มีราคาสูงจึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการคัดกรองให้เหมาะสมกับแต่ละสถาบัน.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

53

Last Page

65

Share

COinS