•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะเครียดจากการทำงาน เป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในในทนายความของหลาย ๆ ประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากความกดดันจากองค์กรที่ต้องการผลงานมากขึ้น ทำให้งานล้นมือลูกจ้าง หรือการไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างเต็มที่ภาวะเครียดจากการทำงานที่สะสมเป็นเวลานานทำให้เกิดภาวะหมดไฟได้ ซึ่งจะลดประสิทธิภาพในการทำงานของตัวบุคคล โดยภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟ ในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์วิธีการทำวิจัย: ศึกษาในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความจำนวน 400 รายที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 – มกราคม พ.ศ. 2559 โดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจำนวนทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล2) แบบสอบถามด้านการทำงาน 3) แบบสอบถามวัดภาวะเครียดจากการทำงาน และ 4) แบบสอบถามวัดภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟโดยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกและวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างความเครียดจากการทำงาน และภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ผลการศึกษา : พบอัตราความชุกของ ภาวะเครียดจากการทำงาน ในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ร้อยละ 22.3 (89 ราย) และภาวะหมดไฟร้อยละ 7.0 (28 ราย) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก พบว่าปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงาน ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า40,000 บาทขึ้นไปและประเภทใบอนุญาตทนายความใหม่และประเภท 2 ปี และปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป ประสบการณ์การทำงาน น้อยกว่า 10 ปีทำงานให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายด้านงานอาญา และจำนวนชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม.ต่อวัน และผลการทดสอบไคสแควร์ พบว่าภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟสรุป : ทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความที่มีภาวะเครียดจากการทำงานร้อยละ 22.3 (89 ราย) เป็นผู้ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาตทนายความและผู้มีใบอนุญาตทนายความประเภท 2 ปี และมีรายได้จากการทำงานเฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป ส่วนผู้ที่มีภาวะหมดไฟร้อยละ 7.0 (28 ราย)เป็นผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาท และมีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี โดยอยู่ในกลุ่มที่ทำงานด้านให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายด้านงานอาญาเพียงอย่างเดียวและมีจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม. โดยภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟ.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.5.5

First Page

663

Last Page

676

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.