•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการวิจัย : พยาบาลเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง(Low back pain) โดยอาการปวดหลังส่วนล่างนั้นมีผลกระทบต่อระดับคุณภาพชีวิต ทำให้สมรรถภาพของร่างกายและความสามารถในการทำงานลดลง คุณภาพในการดูแลผู้ป่วยลดลง และส่งผลต่อการขาดงาน รวมถึงส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและการบริหารบุคลากรวัตถุประสงค์ : ศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงานในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าและยินยอมเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 311 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะงานประจำที่ทำ ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหลังที่จำกัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ประเมินโดยใช้แบบสอบถามออสเวสทรีฉบับภาษาไทย ส่วนที่ 4 ข้อมูลสภาวะความเครียด ประเมินโดยแบบวัดความเครียด กรมสุขภาพจิต ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาในรูปของความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ไค-สแควร์และสถิติการถดถอยโลจิสติก เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับอาการปวดหลังส่วนล่างผลการศึกษา : พบว่าความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เท่ากับร้อยละ 39.2 ซึ่งอาการปวดหลังจำกัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเล็กน้อย และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติกพบว่าปัจจัยที่มีผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P <0.05 ได้แก่ การยกของหนัก (OR = 5.597, 95%CI = 3.275-9.565) การอยู่ในท่าทางที่ไม่ดีหรือไม่ถูกต้องขณะทำงาน(OR = 2.447, 95%CI = 1.185-5.053) และความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง (OR = 2.312, 95%CI = 1.341-3.985)สรุป : ความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ค่อนข้างสูง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่าง คือ การยกของหนัก รวมถึงการอยู่ในท่าทางที่ไม่ดีหรือไม่ถูกต้องขณะทำงาน และระดับความเครียด จากผลการศึกษาปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่าง ทำให้ได้แนวทางในการป้องกันการเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างในพยาบาลวิชาชีพ ตามสาเหตุที่เกี่ยวข้องได้.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.61.1.8

First Page

87

Last Page

102

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.