•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : คู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้าย เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นผู้ที่ประสบกับอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสีย เนื่องจากต้องเผชิญกับประสบการณ์หลายอย่าง ปฏิกิริยาต่าง ๆ ของการสูญเสีย และการปรับตัวหลังจากการสูญเสียวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสบการณ์จากการสูญเสีย การจัดการกับการสูญเสียและการสนับสนุนทางสังคมของคู่สมรสหลังจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายรูปแบบการวิจัย : การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพสถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยตัวอย่างและวิธีการศึกษา : ศึกษาจากคู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เสียชีวิตแล้ว ที่ส่งปรึกษาศูนย์ชีวาภิบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยเป็นคู่สมรสที่ให้การดูแลผู้ป่วยเป็นเวลามากกว่า 6 เดือนจนผู้ป่วยเสียชีวิต เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลเชิงลึกใช้เวลา 60 - 90 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ระดับลึก และ 2) แบบประเมินอารมณ์เศร้าโศกที่ผิดปกติจากการสูญเสียฉบับภาษาไทย ข้อมูลอิ่มตัวอยู่ที่จำนวน 10 รายใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยาของโคไลซ์ซี่ (Colaizzi)ผลการศึกษา : คู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้าย 10 ราย เป็นเพศหญิง 7 รายและเป็นเพศชาย 3 ราย มีอายุเฉลี่ย 50.2 ปี ผู้ป่วยทุกรายเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมีคู่สมรสที่ประสบกับอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติจำนวน 6 ราย โดยใช้ ICG พบว่าประสบการณ์การสูญเสียของคู่สมรสในผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ต่างจากปฏิกิริยาการสูญเสียของบุคคลใกล้ชิดทั่ว ๆ ไป ซึ่งประกอบ ด้วย1)ระยะมึนชา 2) ระยะซึมเศร้า และ3) ระยะกลับคืนสู่ปกติ ผู้ที่ประสบกับอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ เป็นผู้ที่มีความรักความผูกพันกันมาก พึ่งพิงกับผู้ที่เสียชีวิตอย่างสูง ปิดบัง ไม่กล้าบอกความจริง การสูญเสียเกิดขึ้นโดยฉับพลันกะทันหัน ไม่ทันคาดคิด หรือไม่ทันได้เตรียมความพร้อมที่ดี คู่สมรสที่ผ่านพ้นอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียไปได้ เป็นผู้ที่มีการจัดการกับการสูญเสียที่ดี และมีการสนับสนุนทางสังคมที่ดสรุป : การช่วยเหลือคู่สมรสของผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้จัดการกับการสูญเสียต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนการเสียชีวิตและหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วยการเตรียมความพร้อมให้คู่สมรสเผชิญกับการสูญเสีย การจัดการกับการสูญเสียและได้รับการสนับสนุนทางสังคมจะช่วยให้คู่สมรสผ่านพ้นอารมณ์เศร้าโศกหลังจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.60.2.6

First Page

185

Last Page

199

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.