•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : การใช้เวลาเรียนที่มากเกินไปของเด็กที่อยู่ในช่วงวัยประถมศึกษาตอนปลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเด็กซึ่งมีการแสดงออกผ่านพฤติกรรม ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาการแสดงออกด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กโดยทำการศึกษาในเด็กที่เรียนกวดวิชาและไม่เรียนกวดวิชาวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กประถมศึกษาตอนปลาย ศึกษาความแตกต่างของการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชา รวมถึงศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางด้านปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่เรียนกวดวิชาชั้นประถมศึกษาตอนปลายรูปแบบการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งสถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)เขตกรุงเทพมหานครตัวอย่างและวิธีการ : ประชากรที่ศึกษาคือ เด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 422 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการกวดวิชาและแบบประเมินการแสดงออกทางพฤติกรรม (The strengths and difficultiesquestionnaire (SDQ) ฉบับภาษาไทย) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้Pearson correlation, independent t-test, one way ANOVA และMultiple Regression Analysis ตามความเหมาะสมผลการศึกษา : จากการประเมินการแสดงออกทางพฤติกรรม (The strengthsanddifficulties questionnaire: SDQ) โดยผู้ปกครองและเด็กพบความชุกของปัญหาพฤติกรรมร้อยละ 17.5 และ 25.8 ตามลำดับ เมื่อใช้เกณฑ์การเรียนกวดวิชาพบว่าเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชามีปัญหาพฤติกรรมไม่แตกต่างกัน และพบว่าความชุกของปัญหาพฤติกรรมมีค่าใกล้เคียงกับความชุกของปัญหาพฤติกรรมในเด็กทั่วไป แสดงให้เห็นว่าการเรียนกวดวิชาไม่ได้เป็นปัจจัยทีสำคัญของการเกิดปัญหาพฤติกรรมในเด็ก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมจากการประเมินของเด็ก ได้แก่ เพศ (p <0.05) และผลการเรียน (p <0.05) จากการประเมินของผู้ปกครอง ได้แก่ สถานภาพสมรสของบิดามารดา (p <0.01) การศึกษาของบิดามารดา (p <0.01) และผลการเรียน (p<0.01)สรุป : ปัญหาพฤติกรรมของเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยรวมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กทั่วไป และเด็กที่เรียนกวดวิชากับเด็กที่ไม่เรียนกวดวิชามีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างกัน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ เพศ สถานภาพสมรสของบิดามารดาการศึกษาของบิดามารดาและผลการเรียน.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.59.5.9

First Page

587

Last Page

603

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.