•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

เหตุผลของการทำวิจัย : เด็กออทิสติกที่เข้าเรียนร่วมมีความบกพร่องทางการสื่อสารพฤติกรรมซ้ำ ๆ และแยกตัวจากสังคม ดังนั้น กลุ่มเพื่อนซึ่งเป็นนักเรียนปกติในชั้นเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือดูแลเด็กออทิสติกทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งยังไม่พบว่ามีงานวิจัยที่พรรณนาเกี่ยวกับเจตคติของเพื่อนนักเรียนออทิสติกเรียนร่วมบางเวลาในระดับประถมศึกษาวัตถุประสงค์ : เพื่อพรรณนาเจตคติต่อการเป็นเพื่อนกับนักเรียนออทิสติกเรียนร่วมบางเวลาในโรงเรียนจิตรลดาระดับประถมศึกษารูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงคุณภาพ ภายใต้กระบวนทัศน์ปรากฏการณ์วิทยา(Phenomenology)สถานที่ทำการศึกษา : โรงเรียนจิตรลดาระดับประถมศึกษาตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลนักเรียนในชั้นเรียนปกติจำนวน 13 คน และครูประจำชั้น/ครูวิชาปกติ และ ครูการศึกษาพิเศษจำนวน 5 คน โดยการสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมนักเรียนในห้องเรียนโดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ประเด็นหลักผลการศึกษา : ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งที่เป็นนักเรียน และครูมีเจตคติในส่วนความเข้าใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับออทิสติกใกล้เคียงกัน ในส่วนการประเมินคุณค่าและความรู้สึกพบว่าความรู้สึกทางบวก ได้แก่ ความเข้าอกเข้าใจเห็นใจ ความรู้สึกทางลบมักเกี่ยวกับความหงุดหงิดที่เด็กออทิสติกไม่ตอบสนองหรือกลัวพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งอาจสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรม ทั้งเข้าหา ถอยห่าง และไม่ตอบสนองสรุป : เจตคติต่อการเป็นเพื่อนกับนักเรียนออทิสติกเรียนร่วมบางเวลานั้นมีทั้งด้านบวกและลบ การเข้าใจจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมนักเรียนปกติสามารถปรับตัวและมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กออทิสติกได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น.

Publisher

Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

First Page

301

Last Page

312

Share

COinS