Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การหาปริมาณยูเรเนียมตามธรรมชาติในตัวอย่างดิน หญ้า และน้ำรอบๆ บริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายาก โดยวิธีนิวตรอนแอกติเวชัน และฟิชชันแทร็ก

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Determination of natural uranium in soil, grass and water samples around the rare earth research and development center by neutron activation and fission track methods

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สิรินาฎ เลาหะโรจนพันธ์

Second Advisor

นเรศร์ จันทน์ขาว

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิวเคลียร์เทคโนโลยี

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.690

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาข้อมูลพื้นฐานของปริมาณยูเรเนียม ในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายาก ที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ตัวอย่างดิน หญ้า และน้ำ ตามตำแหน่งต่างๆ รอบบริเวณศูนย์ฯ ถูกเก็บและใช้เป็นตัวแทนสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ปริมาณยูเรเนียมได้ใช้วิธีนิวตรอนแอกติเวชัน และฟิชชันแทร็ก แล้วเปรียบเทียบผลกันโดยที่ตัวอย่างดิน และหญ้าได้วิเคราะห์โดยวิธีนิวตรอนแอกติเวชันแบบไม่ทำลายตัวอย่าง ตัวอย่างน้ำได้ใช้วิธีเรดิโอเคมี-นิวตรอน-แอกติเวชัน วิธีฟิชชันแทร็กได้ใช้แผ่นไมกาเป็นดีเทดเตอร์สำหรับตัวอย่างทั้ง 3 ประเภท จากการทดลองพบว่า การวิเคราะห์ปริมาณยูเรเนียมโดยวิธีทั้งสองให้ผลที่ใกล้เคียงกันปริมาณยูเรเนียมในตัวอย่างน้ำในฤดูร้อนมียูเรเนียมในช่วง 0.87-2.00 ppb ในฤดูฝนและหนาวมีค่าใกล้เคียงกันคืออยู่ในช่วง 0.71-0.93 ppb ส่วนน้ำบาดาลมีปริมาณยูเรเนียมสูงกว่าน้ำตามลำคลอง คือ ฤดูร้อนมีค่าอยู่ในช่วง 6.60-7.25 ppb ในฤดูฝนแลหนาว มีค่าอยู่ในช่วง 3.74-4.92 ppb ตัวอย่างหญ้ามีปริมาณยูเรเนียม ในรูปเถ้าเท่ากับ 0.43-1.32 ppm ในฤดูร้อน ในฤดูฝนและหนาวมีค่าใกล้เคียงกันคืออยู่ในช่วง 0.17-0.48 ppm สำหรับตัวอย่างเดิม และดินตะกอนใต้น้ำมีค่าอยู่ในช่วง 3.03-9.72 ppm และไม่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนในแต่ละฤดูกาล

Share

COinS