Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการสังเคราะห์นิโคตินกัมมันตรังสีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนิโคติอะนาทาแบคคุม

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Study of radioactive nicotine synthesis from nicotiana tabacum callus cultures

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

ชยากริต ศิริอุปถัมภ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิวเคลียร์เทคโนโลยี

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.689

Abstract

ได้ศึกษาการสังเคราะห์นิโคตินกัมมันตรังสี โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ไม่เจริญเป็นส่วนของต้นพืชจากต้นยาสูบพันธุ์ นิโคติอะนาทาแบคคุม สายพันธุ์ เคนทักกิ 14 ที่ผ่านการทำให้ปลอดเชื้อ กับกรดนิโคตินิก-ทริเทียม ซึ่งเตรียมจากการอาบรังสินิวตรอนร่วมกับเกลือลิเทียม ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบวุ้น Murashige – Skoog (M&S) ซึ่งประกอบไปด้วยออกซิน α – napthaleneacetic acid (NAA) 1 ไมโครโมล และไคนิติน 1 ไมโครโมล, ความเป็นกรดด่าง 5.7 ทำการเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะอุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์ 30 – 40 % ในที่มืด โดยแบ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็น 2 แบบ คือ แบบใต้อาหารครั้งเดียวเมื่อเริ่มต้น (batch) และแบบเปลี่ยนอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Continuous flow) ปรากฏว่าการสังเคราะห์นิโคตินโดยอาศัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบให้อาหารครั้งเดียวเมื่อเริ่มต้น จะได้ปริมาณนิโคตินสูงกว่าการสังเคราะห์นิโคตินโดยอาศัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเมื่อเปลี่ยนอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 3 ครั้ง ในระยะเวลาเท่ากัน คือ 6 สัปดาห์ จากการทดลองได้ผลผลิตปริมาณนิโคติน-ทริเทียมคิดเป็น 1.15 มิลลิกรัม ต่อ อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ M&S 30 มิลลิลิตร, อัตราส่วนระหว่าง นิโคตินกับสารตั้งต้น คือ กรดนิโคตินิก เป็น 7.14 %, ความบริสุทธิ์ทางเคมิของนิโคติน-ทริเทียมที่ได้เป็น 72.79 % ไม่พบไอโซโทปรังสิแกมมาและไอโซโทปอื่น ๆ นอกจากทริเทียมปนในผลผลิต ผลผลิตมีความแรงรังสีจำเพาะ 1.18 x 10⁻⁵ คูริต่อมิลลิกรัมนิโคติน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นสารติดตามได้

Share

COinS