Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น : ศึกษาเฉพาะ กรณีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Legal problems relating to shareholders' meeting : focus on resolution of shareholders' meeting

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

พิเศษ เสตเสถียร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.519

Abstract

สิทธิของผู้ถือหุ้นในการจัดการบริษัททำได้โดยผ่านที่ประชุมผู้ถือหุ้น กระบวนการลงมติของผู้ถือหุ้น ถือ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ปรากฎว่าบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ลักษณะหุ้นส่วนและบริษัทในส่วนการประชุมผู้ถือหุ้นนี้ยังไม่ชัดเจน ในขณะที่ในทางปฏิบัติ กระบวนการประชุมผู้ถือหุ้นได้พัฒนา เกิดแนวความคิด หลักการ และวิธีการใหม่ ๆ ขี้นมากมาย จังทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายหลายประการ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนจึงมุ่งศึกษาถึง เนี้อหาและปัญหากฎหมาย เกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น โดยเน้นศึกษากรณีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในการวิจัยนี้ เน้นปัญหากฎหมาย 4 หัวข้อ ดังนี้ 1.ปัญหาเกี่ยวกับวาระการประชุม 2. ปัญหาเกี่ยวกับองค์ประชุม 3 .ปัญหาเกี่ยวกับการลงมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น 4. ปัญหาเกี่ยวกับการมอบฉันทะให้ออกเสียงลงคะแนน วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอแนะแนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ดังนี้ 1. ผู้ถือหุ้นกำหนดหลักเกณฑ์การประชุมและการลงมติที่ชัดเจนและเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของ บริษัทนั้น ๆ ขึ้นเองโดยกำหนดไว้ในข้อตกลงวะหว่างผู้ถือหุ้นหรือข้อบังคับ 2. นำหลักสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 มาปรับใช้เพี่อแก้ปัญหา 3. ในกรณีปัญหากฎหมายนั้น ๆ มีความเกี่ยวโยงถึงกฎหมายลักษณะอื่น ๆ ก็อาจนำหลักกฎหมายใน เรื่องนั้นมาช่วยในการพิจารณาและปรับใช้เพี่อแก้ปัญหาด้วย 4. ในกรณีกฎหมายในเรื่องนั้นมีหลักการรองรับหลายหลักและมีความขัดแย้งกัน จะต้องพิจารณา ข้อดีและข้อเสียของแต่ละหลักเสียก่อน แล้วจึงเลือกว่าจะใช้หลักใดจึงจะเหมาะสมที่สุด 5. ในการติความและใช้กฎหมายควรคำนึงถึงทฤษฎีกฎหมายและเจตนารมณ์ของตัวบทกฎหมายนั้น เป็นสำคัญ

Share

COinS