Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การโอนตัวนักโทษ : ศึกษาเฉพาะกรณีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Transfer of Prisoners : a study of its Purpose of Rehabilitation

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สุผานิต เกิดสมเกียรติ

Second Advisor

จิรนิติ หะวานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.518

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทบาทของทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดต่อการก่อให้ เกิดการโอนตัวนักโทษ และอิทธิพลของทฤษฎีดังกล่าวที่ปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาและกฎหมายการโอนตัว นักโทษ ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีแก้ไขผฟื้นฟูผู้กระทำผิดกำหนดวัตถุประสงค์ของการลงโทษให้มุ่งใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงจิตใจ หรือแก้ไขทัศนคติของผู้กระทำ โดยการกำจัดแรงกระตุ้นที่เบี่ยงเบน อันเป็นองค์ประกอบ ที่นำไปสู่การกระทำผิดอีก นอกจากจะต้องทำให้ผู้กระทำผิดเกิดความประสงค์ที่จะยับยั้งไม่กระทำผิดซ้ำขึ้น อีกแล้ว ยังต้องทำให้ผู้นั้นเกิดความสามารถที่จะยับยั้งเช่นนั้นด้วย แต่สำหรับผู้กระทำผิดชาวต่างประเทศปรากฏว่ามีปัญหาและอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การแก้ไขฟื้นฟูบุคคลเหล่านั้นไม่อาจบรรลุผลได้ การโอน ตัวนักโทษกลับประเทศจึงเป็นทางแก้ไขปัญหาทางหนึ่ง โดยเปิดโอกาสให้ประเทศเจ้าของสัญชาติของผู้กระทำผิดสามารถทำหน้าที่แก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำผิดด้วยตนเอง และให้ผู้กระทำผิดมีโอกาสช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนได้รับการปลดปล่อยปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเองดำรงชีวิตต่อไปภายหลังการปลดปล่อย ซึ่งการดำเนิน การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนของผู้กระทำผิดเอง ย่อมได้ผลในทางปฏิบัติมากกว่า นอกจากนั้นพบว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ในสนธิสัญญาและกฎหมายการโอนตัวนักโทษก็ได้ถูกบัญญัติขึ้น โดยคำนึงถึง ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนเอื้ออำนวยต่อทฤษฎีการลงโทษอื่น เช่น ทฤษฎี ยับยั้งและมีบางส่วนยังไม่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดเท่าที่ควร อีกทั้งบางส่วนกลับเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการโอนตัวนักโทษในอนาคต ในการวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในสนธิสัญญาและกฎหมายการโอนตัวนัก โทษของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ การเพิ่มเติมหลัก “ภูมิลำเนา" นอกเหนือจากหลัก “สัญชาติ" การโอนตัวผู้กระทำผิดที่มีความบกพร่องทางจิต การบัญญัติข้อยกเว้นในเรื่องระยะเวลารับโทษ ที่เหลืออยู่การแก้ไขบทบัญญัติในเรื่องการปรับโทษให้ชัดเจนขึ้น การวางแผนทางการพิจารณาโอนตัวนักโทษ ตลอดจนการติดตามผลของการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดภายหลังการโอนตัวนักโทษแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับทฤษฎี แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดมากยิ่งขึ้น โดยประสานกับการใช้ทฤษฎีอื่นในบางกรณีด้วย เพื่อให้บรรลุวัตถุ ประสงค์ของการลงโทษตามหลักทัณฑวิทยาลัยสมัยใหม่

Share

COinS