Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานะทางกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจตามสัญญาเช่าเรือรายเที่ยว

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Legal aspects on demurrage under voyage charter party

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

ชยันติ ไกรกาญจน์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.515

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงสถานะและผลตามกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจภายใต้กฎหมายไทย ค่าดีเมอร์เรจเป็นเงินที่ผู้เช่าเรือตกลงชำระ เพื่อเป็นการชดเชยให้แก่เจ้าของเรือ อันเนื่องมาจากความล่าช้าใด ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อพ้นเวลาที่อนุญาตให้ทำการบรรทุกหรือชนถ่ายสินค้าโดยอาจจะกำหนดเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนหรือเป็นอัตราหรือกำหนดวิธีคำนวณไว้ในสัญญาเช่าเรือและหรือในบิลออฟเลดิง ปัญหาส่วนใหญ่อันเกิดขึ้นจากสัญญาเช่าเรือรายเที่ยวได้แก่ การเรียกร้องค่าดีเมอร์เรจ การนับระยะเวลาดีเมอร์เรจและการคำนวณค่าดีเมอร์เรจ รวมทั้งปัญหาการชำระค่าดีเมอร์เรจล่าช้าสถานะทางกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ และระบบกฎหมายลาตินมีสถานะและการเกิดดีเมอร์เรจที่แตกต่างกัน เช่น อังกฤษถือว่าค่าดีเมอร์เรจเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าแต่อเมริกาถือว่าเป็นค่าเสียหายหรือเป็นค่าระวางที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า สถานะทางกฎหมายของค่าดีเมอร์เรจตามกฎหมายไทยมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และผลตามกฎหมายถือว่าการเกิดดีเมอร์เรจขึ้นเป็นการผิดสัญญาในข้อปลีกย่อยมิใช่สาระสำคัญของสัญญาเจ้าของเรือยังไม่มีสิทธิเลิกสัญญาได้ทันที แต่มีสิทธิเรียกค่าดีเมอร์เรจ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ และหากมีการชำระค่าดีเมอร์เรจล่าช้า เจ้าของเรือมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ และอายุความการเรียกร้องค่าดีเมอร์เรจอยู่ภายใต้บทบัญญัติทั่วไปใน มาตรา 164 คือ 10 ปี

Share

COinS