Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพิสูจน์สัญชาติไทยของบุคคลธรรมดา

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Proof of Thai Nationality

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

ชุมพร ปัจจุสานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.514

Abstract

สัญชาติเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง ระหว่างบุคคลคนหนึ่งกับรัฐที่ตนมีสัญชาติ และก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างบุคคลกับรัฐ สัญชาติจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เป็นตัวกำหนดสิทธิและหน้าที่ ทำให้เกิดความแตกต่างจากบุคคลที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้น แต่มิได้มีสัญชาติของรัฐนั้น และด้วยเหตุที่สัญชาติเป็นเรื่องอันพึงถือเป็นกิจการภายในของรัฐ รัฐจึงมีอำนาจและดุลพินิจอย่างกว้างขวางที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะใช้เป็นเครื่องทดสอบในการตรากฎหมายสัญชาติ และในการถือว่าบุคคลใดบ้างเป็นคนชาติของตน ในขณะที่บุคคลบางกลุ่มพยายามที่จะแสดงให้รัฐเห็นว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในกฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ความพยาบาลนี้จึงก่อให้เกิดการโต้แย้งสิทธิ อันนำไปสู่กระบวนการของการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้รัฐยอมรับความมีสัญชาติของบุคคลนั้นๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์สัญชาติไทยไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์ ตามกระบวนการที่กำหนดในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือพิสูจน์ว่าบุคคลใดไม่เข้าเงื่อนไขของการถอนสัญชาติไทย หรือไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 การศึกษาเปรียบเทียยกฎเกณฑ์การพิสูจน์สัญชาติกับต่างประเทศตลอดจนการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับกฎหมายสัญชาติ ท้ายที่สุด ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์สัญชาติไทยของบุคคลธรรมดาส่งผลกระทบให้เห็นว่า มีข้อบกพร่องที่สมควรจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นธรรมในสังคม การปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติ การสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับกฎหมายสัญชาติ การศึกษาเหล่านี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมายให้มีรูปแบบชัดเจนขึ้น และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ที่สมควรจะได้รับสัญชาติไทยอย่างแท้จริง

Share

COinS