Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดจากผลิตภัณฑ์ยา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Pharmaceutical Product Liability
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
สุษม ศุภนิตย์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.506
Abstract
ยาเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษที่มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น การประกอบธุรกิจ ผลิต นำเข้า จำหน่ายยารวมทั้งการประกอบวิชาชีพ สั่งใช้ยาและจ่ายยาต้องอยู่ในความรู้ความชำนาญของบุคลากรที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นโดยเฉพาะ อีกทั้งยาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นถ้าหากเกิดความเสียหายขึ้นจากผลิตภัณฑ์ยา ผู้เสียหายควรจะได้รับการชดใช้เยียวยา ในทางกฎหมายที่เหมาะสมเป็นธรรม จากการศึกษา วิจัยพบว่า ในต่างประเทศกฎหมายที่เกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายในทางแพ่งให้แก่ผู้บริโภคยา ใช้กฎหมายที่ว่าด้วยสัญญา และละเมิด ส่วนในประเทศไทย การเยียวยาความเสียหายในทางแพ่งยังคงต้องอาศัยกฎหมายลักษณะสัญญา ซื้อขาย ละเมิด และพระราชบัญญัติพิเศษอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายเหล่านั้นล้วนแต่ไม่เหมาะสมต่อการเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายจากผลิตภัณฑ์ยา ด้วยเหตุว่าตามหลักสัญญานั้นโจทก์ผู้เสียหายจะต้องมีความสัมพันธ์ทางสัญญาโดยตรงกับจำเลย แม้กฎหมายว่าด้วยซื้อขายจะบัญญัติให้ผู้ขายรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องก็ตาม การพิสูจน์ความชำรุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ยาย่อมทำได้ยาก ยิ่งความชำรุดบกพร่องที่ผู้ขายจะต้องรับผิดนั้นจะต้องมีอยู่ก่อนหรือขณะทำสัญญาย่อมเป็นการยากในการพิสูจน์ให้ได้ความเช่นนั้นอุปสรรค์ที่เกิดจากการเยียวยาโดยอาศัยกฎหมายว่าด้วยละเมิด ก็คือ โจทก์ยังคงมีภาระในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยอยู่ ซึ่งเป็นการยากลำบากที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลยให้ประจักษ์ชัด การเยียวยาโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ก็ยังคงใช้หลักสัญญาและละเมิดอยู่นั่นเอง ส่วนพระราชบัญญัติควบคุมวิชาชีพต่าง ๆ ก็ไม่มีบทบัญญัติ เพื่อการเยียวยาในทางแพ่งให้แก่ผู้เสียหาย ดังนั้น การเยียวยาทางแพ่งทั้งสองในแง่สัญญาและละเมิดให้แก่ผู้เสียหายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องนำหลักความรับผิดโดยเด็ดขาดในทางละเมิดมาปรับใช้กับผู้ประกอบธุรกิจผลิต นำเข้า และจำหน่ายยา โดยผู้เสียหายไม่จำต้องพิสูจน์ความผิดต่อไป ส่วนผู้ประกอบวิชาชีพสั่งใช้ยาและจ่ายยา มีหน้าที่พิสูจน์หักล้างความผิดตามบทสันนิษฐานความผิดของกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับการกระทำหน้าที่ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ (Malpractice) และนำเอามาตรการเยียวยาพิเศษนอกเหนือจากการเยียวยาจากการฟ้องคดีคือ ระบบประกันภัย ระบบประกันสังคม และระบบกองทุนรวมมาปรับใช้ ผลก็คือทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ ผลิตนำเข้า และจำหน่ายยา รวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพสั่งใช้ยาและจ่ายยา ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบยิ่งขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจย่อมผลิตยาที่มีคุณภาพมากขึ้น ส่วนต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจะผลักภาระไปให้ผู้บริโภค ช่วยกันรับผิดชอบโดยผ่านมาตรการพิเศษเหล่านั้น ในที่สุดการผลิต การบริโภคยาก็จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ ถ้าตราบใดยายังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนสุคนธ์, สุวิทย์, "ความรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดจากผลิตภัณฑ์ยา" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 39123.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/39123