Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 : ศึกษาและวิเคราะห์แนววินิจฉัยของศาลฎีกาในการกำหนดโทษตามมาตรา 27

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Customs Acts B.E.2469 : Study and Analogy in Dika Court's Docirine About the Punishment of Article 27.

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

มานิต วิทยาเต็ม

Second Advisor

ชาญวิทย์ ยอดมณ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.503

Abstract

กฎหมายศุลกากร เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดที่เกิดจากข้อห้าม (Mala prohibita) ซึ่งหมายถึงความผิดที่เกิดขึ้น เพราะกฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นเป็นผิด ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายศุลกากรมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้นกฎหมายศุลกากรจึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับและบัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืน โดยเฉพาะความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร มาตรา 27 ต้องรับโทษในอัตราที่สูงอีกทั้งในปัจจุบันการกระทำดังกล่าวถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่รัฐมีนโยบายที่จะปราบปรามโดยเด็ดขาด การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบถึงเหตุผลของศาลยุติธรรมในการลงโทษผู้กระทำความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งการวินิจฉัยลงโทษดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการป้องกันและปราบปรามการลักลอบหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนภาษีศุลกากรหรือไม่อย่างไร ผลการวิจัย พบว่า ส่วนหนึ่งของการลักลอบหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนภาษีศุลกากรนั้นเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีความยาวมากและขาดความชัดเจน ซึ่งมีผลให้องค์กงในกระบวนการยุติธรรมวินิจฉัยตีความในลักษณะแคบ ซึ่งมีผลทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกิดความเกรงกลัวกฎหมาย ฉะนั้น จึงควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว ให้มีความชัดเจน องค์กรยุติธรรมก็จะสามารถใช้กฎหมาในการลงโทษผู้กระทำความผิด ได้ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายซึ่งก็จะส่งผลให้การป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Share

COinS