Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงทะเล ในน่านน้ำเขตอำนาจของประเทศไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Fishery management and conservation in maritimes jurisdiction of thailand

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

ชุมพร ปัจจุสานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.498

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ให้ทราบว่าการจัดการประมงเป็นบทบาทและหน้าที่ของรัฐที่จะดำเนินการให้การแสวงประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลก่อเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมให้กับประชากรในชาติ ปัจจุบันการลงแรงประมง (Fishing effort) ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จนเป็นการทำลายสัตว์น้ำ เป็นผลให้จำนวนสัตว์น้ำในแหล่งน่านน้ำไทยลดลง การประกาศอ้างสิทธิ เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 มีผลทำให้ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยเหนือทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยตามหลักกฎหมายทะเลซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ การอ้างสิทธิดังกล่าวเท่ากับเป็นการก่อตั้งทรัพย์สิทธิของรัฐ ที่มีผลทำให้รัฐอื่นไม่มีสิทธิเข้าทำการประมงในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย กรณีการใช้สิทธิอธิปไตยเพื่อนำทรัพยากรประมงในเขตเศรษฐกิจำเพาะมาใช้ประโยชน์ ประเทศไทยมีหน้าที่โดยปริยายที่จะต้องอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านั้นด้วย ตามอนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กำหนดให้รัฐชายฝั่งต้องคำนวณว่าปริมาณที่จะนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ได้ (Allowable catch) มีมากน้อยเท่าใด แล้วจะต้องคำนวณต่อไปว่าตนมีความสามารถใช้ได้ทั้งหมด โยมีทรัพยากรส่วนเกิด (Surplus) ที่เหลืออยู่ รัฐชายฝั่งจะต้องเปิดโอกาสให้ประโยชน์รัฐอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรส่วนเกินนั้นด้วย จนถึงบัดนี้รัฐบาลไทยยังมิได้ออกกฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจำเพาะบังคับใช้ และรองรับหลักกฎหมายทะเลในส่วนที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ส่วนกฎหมายประมง 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2490 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. 2482 ปัจจุบันนี้ สภาวะการณ์ประมงได้เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีการทำประมงได้พัฒนาก้าวหน้ามาก จึงสมควรจะได้ปรับปรุง แก้ไข พ.ร.บ. การประมงทั้งสองฉบับ เพื่อให้เหมาะสมกับความจำเป็นและความต้องการของประเทศในเรื่องนี้ ป้องกันมิได้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ทางการประมงของประเทศชาติขึ้นได้ต่อไปในอนาคต

Share

COinS