Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แกตต์และเอฟ เอ โอ สามารถแก้ไขปัญหาฟาร์มแอคต์ 1985 : ข้าวไทยได้อย่างไร?

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

How can the Gall and FAO Resolve the Proplems of Farm ACT 1965 : Thai Rice ?

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.496

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาปรับใช้ซึ่งหลักกฎหมายและหลักการระบายส่วนเกินของ เอฟเอโอ กรณีปัญหาฟาร์มแอคต์ 1985 : ข้าวไทย อันจะเป็นพื้นฐานทางกฎหมาย ในการหยิบยกขึ้นประท้วงร้องเรียน หรือช่วยในการเจรจา เพื่อสร้างแรงกดดันให้สหรัฐอเมริกาเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับข้าว ผลการวิจัยพบว่า หลักเกณฑ์และกลไกตามมาตรา 16(1) และ (3) กับมาตรา 23, ของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ควรนำมาใช้เป็นทางเยียวยาความเสียหาย จาก "ราคาต่ำ" อันเป็นผลสืบเนื่องจากมาตรการส่งเสริมการส่งออกของฟาร์มแอคต์ ทั้งที่เป็นการช่วยอุดหนุนการส่งออกโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งขัดต่อวัตถุประสงค์ของแกตต์ที่ต้องการให้มีการค้าเสรี หลักการระบายส่วนเกินของเอฟเอโอ ในส่วนที่เกี่ยวกับการขายในรูปแบบพิเศษ ควรนำมาปรับใช้กับกรณี การขายข้าวตามโครงการอาหารเพื่อสันติภาพ หรือ PL 480 ของสหรัฐอเมริกา มิให้ส่งผลกระทบหรือทำลายสภาพตลาดการค้าปกติของไทย จากผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นต่อสภาวะการแข่งขันการค้าของไทย ในตลาดที่สาม ในปี 1986 รัฐบาลไทยควรใช้สิทธิที่มีอยู่หรือพึงจะได้รับ ตามหลักกฎหมายของแกตต์ และเอฟเอโอ ที่กล่าวถึงมาช่วยแก้ไขปัญหาฟาร์มแอคต์ 1985 : ข้าวไทย ในลักษณะควบคู่กันไป

Share

COinS