Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิทธิที่สามารถป้องกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Defensive legal rights

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

วีระพงษ์ บุญโญภาส

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.494

Abstract

สิทธิของบุคคลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สิทธิเกี่ยวกับบุคคล และสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินในส่วนสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ทรัพยสิทธิ และบุคคลสิทธิ การกระทำโดยป้องกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 เป็นการกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจเพื่อป้องกันสิทธิ โดยสิทธิดังกล่าว หมายถึง ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่โดยกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ตามทฤษฎีกฎหมายบ้านเมือง และหมายความเฉพาะสิทธิที่เป็นส่วนเอกชน (Private rights) เท่านั้นที่บุคคลสามารถกระทำการเพื่อป้องกันสิทธินั้นได้ ซึ่งคำพิพากษาของศาลได้ยอมรับว่า สิทธิในชีวิตร่างกาย ชื่อเสียงเกียรติยศ และทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่บุคคลสามารถกระทำการเพื่อป้องกันได้ เมื่อสิทธิที่บุคคลสามารถป้องกันได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 หมายถึง สิทธิที่เป็นส่วนเอกชน (Private rights) จึงเป็นผลให้ขอบเขตของสิทธิที่สามารถป้องกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ขยายออกไปจากสิทธิประเภทต่างๆ ที่ศาลได้ยอมรับว่าสามารถป้องกันได้ และการกระทำหนึ่งๆ อาจเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของบุคคลหลายสิทธิก็ได้ แต่ถ้าสิทธิของบุคคลเป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทบุคคลสิทธิ บุคคลจะทำการคุ้มครองสิทธิด้วยตนเอง โดยอ้างการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ไม่ได้ จะต้องขอคุ้มครองสิทธิทางศาลเสมอ เนื่องจากการป้องกันสิทธิ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 หมายถึง การป้องกันสิทธิที่เป็นส่วนเอกชนเท่านั้น ทำให้บุคคลกระทำการเพื่อป้องกันในกรณีที่มีการละเมิดบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองส่วนรวมหรือสาธารณะไม่ได้

Share

COinS