Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ปัญหาการบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยในเรื่องการกักกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Problems of Application of Relegation Under the Thai Penal Code
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
วีระพงษ์ บุญโญภาส
Second Advisor
ชาญวิทย์ ยอดมณี
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.489
Abstract
ในปัจจุบันจากสถิติผู้กระทำผิดอาญามีแนวโน้มว่า ผู้กระทำความผิดซ้ำมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะการกระทำผิดซ้ำตั้งแต่สามครั้งขึ้นไป ซึ่งกฎหมายอาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย การใช้มาตรการเพิ่มโทษหรือใช้วิธีการลงโทษที่รุนแรงเพียงประการเดียว ย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกระทำผิดของอาชญากรประเภทนี้ได้ ประมวลกฎหมายอาญามีบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ผู้กระทำผิดติดนิสัยไว้ โดยเฉพาะคือ มาตรา 41 ในเรื่องการกักกัน ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งของวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่ศาลอาจใช้ควบคู่กันไปกับการลงโทษ และอาจถือได้ว่าเป็นมาตรการเสริมในการจัดการกับอาชญากรที่กระทำผิดติดนิสัยโดยเฉพาะ แต่กลับปรากฏว่าทั้งที่ประเทศไทยมีบทบัญญัติในเรื่องการกักกันไว้แล้วก็ตาม แต่มิได้มีการนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลอย่างจริงจังสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งให้การกักกันเป็นมาตรการที่จะคุ้มครองป้องกันสังคมให้ปลอดภัยและแก้โขปรับปรุงผู้กระทำผิดติดนิสัยแต่อย่างใด วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาการบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยในเรื่องการกักกันว่า มีปัญหาและอุปสรรคตลอดจนมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร สมควรให้คงมีอยู่หรือแก้โขปรับปรุงอย่างไร ทั้งนี้โดยศึกษาแนวความคิด วิวัฒนาการจากกฎหมายของต่างประเทศ และของประเทศไทย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การกักกันเป็นมาตรการที่สำคัญยิ่งในการจัดการกับผู้กระทำผิดติดนิสัย ในแง่การป้องกันสังคมและตัดโอกาสมิให้ผู้กระทำผิดติดนิสัย มีโอกาสกระทำผิดในสังคมได้อีก นอกจากนั้น ยังมีผลในการอบรมผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นคนดีอีกด้วย การลงโทษที่หนักขึ้น หรือการเพิ่มโทษแต่เพียงประการเดียว มิใช่วิธีที่จะใช้กับผู้กระทำผิดติดนิสัยได้ ฉะนั้นหากได้มีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ทั้งในด้านโครงสร้างกฎหมายและด้านองค์กรผู้บังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสมแล้ว อาจทำให้สามารถนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยในเรื่องการกักกันมาใช้เป็นมาตรการสำคัญในการคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยจากผู้กระทำผิดติดนิสัยได้เป็นอย่างดี และสมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วัชรบุตร, มนต์ชัย, "ปัญหาการบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยในเรื่องการกักกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 39106.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/39106