Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาการใช้กฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิเพื่อสนองนโยบายที่ดินแห่งชาติ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Problems of application of land use control laws in response to national land policy

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

วานิช ชุติวงศ์

Second Advisor

จรัสศรี ทีปิรัช

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.487

Abstract

ปัจจุบันนโยบายที่ดินแห่งชาติด้านการใช้ที่ดิน ซึ่งมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการกำหนดบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ การคุ้มครองพื้นที่ เกษตรกรรม การตั้งถิ่นฐาน และอยู่อาศัย มีพระราชบัญญัติใช้บังคับสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าว รวม 5 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติป่าสงวน แห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2526 และพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 เนื่องจากรัฐไม่ได้ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ออกมาใช้บังคับ เพื่อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศอย่างเป็นระบบตามกระบวนการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยตรากฎหมายขึ้นมาเป็นเครื่องมือกำหนดบริเวณและจัดการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นการเฉพาะเรื่อง ในช่วงเวลาต่างๆ กัน และมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระทรวงทบวง กรมต่างๆ มีหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายแต่ละฉบับ ประกอบกับกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานที่ดินของรัฐยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ดังนั้นจึงก่อให้เกิดปัญหาการใช้กฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินสนองนโยบายที่ดินแห่งชาติที่สำคัญตามมา คือ ความไม่เป็นเอกภาพของแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศ และความไม่มีประสิทธิภาพของการใช้กฎหมายควบคุม การใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะหน่วยงานของรัฐต่างมีแนวความคิดว่า มีอิสระในการดำเนินงานตามหน้าที่ซึ่งกฎหมายแต่ละฉบับให้อำนาจไว้ โดยละเลยการนำเอาเจตนารมณ์ของกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาใช้ร่วมกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย เข้าใจในหลักการความเป็นเอกภาพของการบริหารราชการแผ่นดินว่า ทุกองค์กรของราชการ เป็นส่วนหนึ่งภายใต้ระบบโครงสร้างทางปกครองของรัฐ ซึ่งจะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกัน องค์กรของทางราชการสามารถจัดตั้ง เปลี่ยนแปลง หรือยุบเลิกได้เสมอตามเหตุผลของการจัดการที่มุ่งให้เกิดประโยชน์แก่รัฐ นอกจากนี้มีข้อเสนอแนะต่อไปว่า ในอนาคตประเทศไทยควรมีการตรา กฎหมายว่าด้วยการวางแผนการใช้ที่ดินแห่งชาติ ขึ้นมากำหนดกรอบนโยบาย และวางหลัก เกณฑ์กระบวนการตัดสินใจ ในการนำทรัพยากรที่ดิน ของชาติมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประ เทศ

Share

COinS