Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวทางการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยาในประเทศไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Guideliness for pharmaceutical product patent protection in Thailand

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.486

Abstract

การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรในประเทศไทยนั้น มิได้ให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่งานประดิษฐ์ทุกประเภท เนื่องจากการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรเป็นการให้สิทธิพิเศษแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้ประดิษฐ์ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมได้ พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จึงได้มีบทบัญญัติกำหนดให้งานประดิษฐ์บางประเภทไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ โดย เฉพาะงานประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร ผลิตภัณฑ์ยาในประเทศไทย เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยาก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นและต่อสังคมส่วนรวม โดยพิจารณาถึงสภาพและระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่าการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยาเพียงอย่างเดียวอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมในด้านต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากประ เทศไทยจะขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่ ผลิตภัณฑ์ยาแล้วจะต้องพิจารณาหามาตรการเข้ามาใช้ควบคู่ เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยาก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประดิษฐ์และสังคมส่วนรวม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้อธิบายถึงหลักกฎหมายและทฤษฏีในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร และการให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของสังคม ตลอดจนกฎหมายหรือมาตรการที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยา รวมทั้งข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ ที่จะนำมา ใช้ควบคู่กับการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ยา

Share

COinS