Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์หลักสูตรอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษาพุทธศักราช 2523

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Analysis of the isalamic studies curriculum for elementary education B.E. 2523

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สวัสดิ์ จงกล

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.131

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หลักสูตรอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2523 ในด้านความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ เอกสารที่วิเคราะห์ ได้แก่ หลักสูตรอิสลามศึกษา ระดับประถมศึกษา พุทธศักราช 2523 ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และ วิทยากรสอนศาสนา จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 252 ฉบับ ได้รับกลับคืน 225 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.29 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความ ถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร ได้มีการศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาและประสบการณ์เรียนรู้การ วัดและประเมิน ในด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตรพบว่า ยึดปรัชญาศึกษาแบบสารัตถนิยม มีเป้าหมายของการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความศรัทธาควบคู่กับความรู้ที่เกี่ยวข้องทางศาสนา และมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีแนว ปฏิบัติธรรมของศาสนาอิสลาม มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ และระบุ พฤติกรรมการเรียนได้ครบถ้วนทั้ง 3 ด้าน ด้านเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบของหลักสูตรยึดสาขาวิชาหรือเนื้อหาวิชาเป็นหลัก การจัดเรียงเนื้อหาวิชาครบตามเกณฑ์ทุกข้อ ด้านการวัดและประเมินผล ใช้เครื่องมือวัดและประเมินได้ครบทั้ง 4 ชนิด ความสัมพันธ์องค์ประกอบของหลักสูตร ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ด้านความเหมาะสมของหลักสูตร ก่อนนำหลักสูตรไปใช้รวมทุกด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการศึกษาก่อนปฏิบัติจริง มีการศึกษารวมทุกด้าน ได้แก่ จุดมุ่งหมายของ หลักสูตร เนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก และการนำหลักสูตร ไปใช้ มีการปฏิบัติรวมทุกด้านอยู่ในระดับปฏิบัติประจำ

Share

COinS