Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำให้บริสุทธิ์และการศึกษาสมบัติของเอนไซม์นิวทรัลโปรตีเอส จาก Bacillus subtilis TISTR 25

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Purification and characterization of neutral protease from bacillus subtilis TISTR 25

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

เปี่ยมสุข พงษ์สวัสดิ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ชีวเคมี

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.636

Abstract

ทำการแยกเอนไซม์นิวทรัลโปรตีเอสจาก Bacillus subtilis TISTR 25 ให้บริสุทธิ์โดยการตกตะกอน ด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตอิ่มตัว 40 - 70% แล้วผ่านคอลัมน์โครมาโตรกราฟฟี 2 ชนิด คือ ซีเอ็ม เซลลูโลส และ เซฟา เด็กซ์ จี 75 สามารถแยกเอนไซม์นิวทรัลโปรตีเอสให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น 4.6 เท่า ทดสอบความบริสุทธิ์โดยเทคนิค โพลีอะไครลาไมด์ เจล อิเลคโตรโฟรีซิสได้แถบโปรตีนเพียงแถบเดียว นำไปหาขนาดและหน่วยย่อยของเอนไซม์ โดยวิธี เอสดีเอส โพลีอะไครลาไมด์ เจล อิเลคโตรโฟรีซีส พบว่าเอนไซม์ เป็นโพลีเปปไทด์สายเดี่ยว มีขนาดโมเลกุล 37,000 ดาลตัน สภาวะที่เหมาะสมในการเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายเคซีนดีที่สุดที่ pH.7 และอุณหภูมิ 50 °ซ. เอนไซม์ ที่ทำให้บริสุทธิ์นี้ไม่สามารถย่อยสลายพันธะเอสเทอร์ได้ และจากการศึกษาค่าคงที่ทางจลศาสตร์ของเอนไซม์ (Kₘ)ต่อลับสเตรท เคซีน ฮีโมโกลบิน และ เอโซคอล มีค่าเท่ากับ 0.04, 0.06 มิลลิโมล/ลิตร และ 10 มก. / มล. ตามลำดับ ซึ่งทำการทดลองเปรียบเทียบกับเอนไซม์ Thermolysin จาก B. thermoproteolyticus พบว่า Thermolysin มีความจำเพาะต่อลับสเตรททั้งสามชนิดดีกว่าเอนไซม์ที่ทำให้บริสุทธิ์จาก TISTR 25 แต่เอนไซม์จาก TISTR 25 มีความเร็วสูงสุด (Vₘₐₓ) ในการเร่งปฏิกิริยาลับสเตรททั้งสามชนิดนี้ดีกว่า Thermolysin และเมื่อศึกษาความจำเพาะต่อลับสเตรทที่เป็นเปปไทด์สังเคราะห์ พบว่านิวทรัลโปรตีเอสจาก TISTR 25 สามารถย่อยลับสเตรทที่มีขนาดตั้งแต่ tripeptide ขึ้นไป และมีความจำเพาะต่อปลายด้าน N ของกรดอะมิโนะขนาดใหญ่ เช่น ลิวซีน, ฟินิลอะลานีน หรือ อาร์จินิน เช่นเดียวกับเอนไซม์ Thermolysin เอนไซม์นิวทรัลโปรตีเอสจาก B. subtilis TISTR 25 มีปริมาณอะตอมสังกะสีในโมเลกุลเท่ากับ 1.5 อะตอม / โมเลกุล เอนไซม์ถูกยับยั้งปฏิกิริยาได้ด้วยสารคีเลตติ้ง EDTA และ Phenanthroline จากการทดลองใช้ EDTA ที่ความเข้มข้น 1 มิลลิโมลาร์ สามารถยับยั้งปฏิกิริยาประมาณ 80% และแอดติวิดีจะ กลับคืนได้ถ้ามีการเติมไดวาเลนท์ที่เหมาะสม ซึ่งจากการทดลองพบว่าเมื่อมีการเติม 1 มิลลิโมลาร์ของ Zn⁺⁺ | Mn⁺⁺ และ Co⁺⁺ แอคติวิดีจะสามารถกลับคืนมาได้ดีกว่าเมื่อเติม 1 มิลลิโมลาร์ของ Ca⁺⁺ | Fe⁺⁺ และ Mg⁺⁺

Share

COinS