Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟาง (Volvariella volvacea) โดยการรวมโปรโตพลาสต์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Strain improvement of straw mushroom (Volvariella volvacea) by protoplast fusion

Year (A.D.)

1991

Document Type

Thesis

First Advisor

สุมาลี พิชญางกูร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จุลชีววิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1991.627

Abstract

การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟางโดยวิธีรวมโปรโตพลาสต์ของสายพันธุ์ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ไทยครีบน้ำตาล (TH) สายพันธุ์ไทยครีบขาว (WG) และสายพันธุ์ไต้หวัน (TA) ใช้เส้นใยที่มีอายุ 4 วันนำมาย่อยผนังเซลล์ด้วยไซโมไลเอส 0.20 มก. ต่อ มล. ผสมกับเซลลูเลส 2% ที่ 30๐ซ. บ่มเป็นเวลา 4 ซม. โดยมีปริมาณโปรโตพลาสต์ที่เตรียมได้เท่ากับ 7.33x104, 8.50x104 และ 8.67x104 เซลล์ต่อ มล. ตามลำดับ แล้วนำโปรโตพลาสต์แต่ละคู่มาหลอมรวมโดยใช้สารละลายโพลิเอทธิลีนไกลคอล-8000 ได้ฟิวแสนท์ที่เกิดจากการรวมโปรโตพลาสต์ บนอาหารรีเจนเนอเรทที่ให้โคโลนีใหม่เกิดขึ้น ได้ทำการศึกษาสายพันธุ์ฟิวแสนท์ในด้านขนาดของเส้นใย และปริมาณดีเอนเอทั้งหมดของฟิวแสนท์ พบว่าสายพันธุ์ฟิวแสนท์มีขนาดของเส้นใยใหญ่ขึ้น และมีปริมาณดีเอนเอเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเซลล์รวมกัน เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ต้นแบบ คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีการเพิ่มของปริมาณดีเอนเอเป็น 2 เท่า และ 3 เท่า นำไปทดสอบความสามารถในการออกตุ่มดอกบนอาหารเสริมคัดเลือกสายพันธุ์ 6 สายพันธุ์ที่สร้างตุ่มดอกดี ไปเพาะทดสอบในตะกร้าทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ต้นแบบถึงผลผลิตและลักษณะบางประการของฟิวแสนท์ พบว่าสายพันธุ์ฟิวแสนท์ที่ทดลอง เพาะให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์ต้นแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่จำนวนดอกและน้ำหนักแห้งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มทดลองที่ระดับความเชื่อมั่น 95% น้ำหนักสดของแต่ละกลุ่มการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 99% และพบว่าในจำนวน 6 สายพันธุ์ สายพันธุ์ F (TA-WG6) ให้ผลผลิตสูงสุด และมีความถี่ของการออกดอกมากที่สุด

Share

COinS