Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการเสนอความน่ากลัว การให้คำแนะนำอย่างละเอียดโดยใช้วีดิทัศน์ และการให้เอกสารแนะนำต่อความเชื่อด้านสุขภาพ ความตั้งใจที่จะปฏิบัติและความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The effects of fear appeals,elaborated recommendations using video tape and brief brochure recommendations upon health belief,intention to perform and knowledge
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
ธีระพร อุวรรณโณ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาสังคม
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.784
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาเปรียบเทียบความเชื่อด้านสุขภาพ ความตั้งใจที่จะปฏิบัติและความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรีระหว่างเงื่อนไขการทดลองที่ 1การเสนอความน่ากลัวร่วมกับการให้คำแนะนำอย่างละเอียดโดยใช้วีดีทัศน์ และการให้เอกสารแนะนำกับเงื่อนไขการทดลองที่ 2 การให้คำแนะนำอย่างละเอียดโดยใช้วีดีทัศน์ร่วมกับการให้เอกสารแนะนำ เงื่อนไขการทดลองที่ 3 การให้เอกสารแนะนำและเงื่อนไขควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความรู้ ความเชื่อเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนองและโรคมะเร็งเต้านม ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเชื่อด้านสุขภาพ ภายหลังการทดลองทันทีที่มีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ (r = .30, P< .01) กับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ แต่ความเชื่อด้านสุขภาพมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างไม่มีนัยสำคัญ เมื่อวัดตัวแปรทั้งสองภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ 2. เงื่อนไขการทดลองที่ 1 มีการรับรู้ถึงการเป็นไปได้ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม การรับรู้ถึงอุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง ภายหลังการทดลองทันที และภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ไม่แตกต่างจากเงื่อนไขการทดลองที่ 2, 3 และเงื่อนไขควบคุม 3. เงื่อนไขการทดลองที่ 1 มีการรับรู้ถึงความร้ายแรงของโรคมะเร็งเต้านม ภายหลังการทดลองทันทีสูงกว่าเงื่อนไขการทดลองที่ 3 และเงื่อนไขควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P< .05)แต่สูงกว่าเงื่อนไขการทดลองที่ 2 อย่างไม่มีนัยสำคัญ และภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ เงื่อนไขการทดลองที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างจากเงื่อนไจการทดลองที่ 2, 3 และเงื่อนไขควบคุม 4. เงื่อนไขการทดลองที่ 1 มีการรับรู้ถึงประโยชน์ของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ภายหลังการทดลองทันทีและภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ สูงกว่าเงื่อนไขควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P< .05)แต่สูงกว่าเงื่อนไขการทดลองที่ 2, 3 อย่างไม่มีนัยสำคัญ 5. เงื่อนไขการทดลองที่ 1 มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ สูงกว่าเงื่อนไขควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P< .05) แต่สูงกว่าเงื่อนไขการทดลองที่ 2, 3 อย่างไม่มีนัยสำคัญ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อมรจิตรานนท์, โสพิน, "ผลของการเสนอความน่ากลัว การให้คำแนะนำอย่างละเอียดโดยใช้วีดิทัศน์ และการให้เอกสารแนะนำต่อความเชื่อด้านสุขภาพ ความตั้งใจที่จะปฏิบัติและความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรี" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 39055.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/39055