Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเปรียบเทียบอานุภาพการจูงใจงานพยาบาลต่างแผนก ตามการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A comparison of motivating potental of nurses in various nusing departments as perceived by nurses in public hospitals Bangkok metropolis
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
ชัยพร วิชชาวุธ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาพัฒนาการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.781
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษา อานุภาพการจูงใจงานพยาบาลต่างแผนกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ลักษณะสำคัญของงาน ภาวะวิกฤติทางจิต แรงจูงใจภายใน ความพึงพอใจในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน และความต้องการก้าวหน้า ผลการวิจัยพบว่า 1. พยาบาลโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร มีการรับรู้อานุภาพการจูงใจของงานพยาบาลต่างแผนกแตกต่างกัน โดยพยาบาลแผนกฉุกเฉินมีการรับรู้อานุภาพจูงใจของงานพยาบาลสูงที่สุด รองลงมาคือ พยาบาลแผนกกุมาร พยาบาลแผนกสูติ – นรีเวช พยาบาลแผนกศัลยกรรม และพยาบาลแผนกอายุรกรรม ตามลำดับ ส่วนพยาบาลแผนกจิตเวช มีการรับรู้อานุภาพการจูงใจของงานพยาบาลต่ำที่สุด 2. พยาบาลโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร มีการรับรู้ลักษณะสำคัญของงานพยาบาลต่างแผนก แตกต่างกัน 4 ลักษณะ คือ นานาทักษะ เอกลักษณ์ของงาน ความสำคัญของงาน และการทราบผลไม่แตกต่างกันลักษณะเดียวคือ ความเป็นอิสระ 3. ลักษณะสำคัญของงานพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวก กับภาวะวิกฤติทางจิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .25 ถึง .39 แสดงว่าลักษณะสำคัญของงานพยาบาล ก่อให้เกิดภาวะวิกฤติทางจิตได้ 4. แรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์ทางบวก กับอานุภาพการจูงใจของงาน ลักษณะสำคัญของงานและภาวะวิกฤติทางจิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .11 ถึง .66 แสดงว่า อานุภาพการจูงใจ ของงาน ลักษณะสำคัญของงาน และภาวะวิกฤติทางจิต ก่อให้เกิดแรงจูงใจภายในได้ 5. พยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าสูง แรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์ทางบวก กับอานุภาพการจูงใจของงานไม่แตกต่างจากพยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำ แสดงว่าความต้องการก้าวหน้าไม่ได้เป็นความแตกต่างทางด้านบุคคล ที่จะนำมาใช้เป็นตัวแปรปรับแต่ง 6. พยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าสูง อานุภาพการจูงใจของงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน ไม่แตกต่างจากพยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำแสดงว่า ความต้องการก้าวหน้าไม่ได้เป็นความแตกต่างทางด้านบุคคล ที่จะนำมาใช้เป็นตัวแปรปรับแต่ง
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สะหรั่งบิน, สมศรี, "การเปรียบเทียบอานุภาพการจูงใจงานพยาบาลต่างแผนก ตามการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 39051.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/39051