Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคลของบุคลากร ในองค์กรธุรกิจตามการรับรู้ของผู้บริหารระดับกลาง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Behavioral styles in managing interpersonal conflicts of personnel in business organizations as perceives by middle managers
Year (A.D.)
1991
Document Type
Thesis
First Advisor
ชัยพร วิชชาวุธ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จิตวิทยาการปรึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1991.778
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาแบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคลของบุคลากรในองค์กรธุรกิจตามการรับรู้ของผู้บริหารระดับกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารระดับกลาง (ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจการค้า กลุ่มธุรกิจธนาคารและการเงิน และกลุ่มธุรกิจโรงแรม) จำนวนรวมทั้งสิ้น 370 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้งของชัยพร วิชชาวุธ ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วยข้อความที่วัดพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้ง 5 แบบ ในแต่ละแบบมีข้อความ 12 ข้อรวม 5 แบบเป็นข้อความทั้งสิ้น 60 ข้อซึ่งแบ่งเป็น 30 คู่ผู้ตอบเลือกตอบข้อความเพียง 1 ข้อความจาก 1 คู่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส พีซี (SPSSPC) คำนวณค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบใช้ t-test และ F-test สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ผู้บริหารระดับกลางจัดการความขัดแย้งกับบุคลากรด้วยพฤติกรรม “นกฮูก" (เผชิญหน้ากัน) เป็นอันดับหนึ่ง และ “ตุ๊กตาหมี" (สัมพันธภาพราบรื่น) เป็นอันดับสองและ"เต่า" (ถอนตัว) เป็นอันดับสุดท้าย 2. ผู้บริหารระดับกลางรับรู้ว่าบุคลากรในองค์กรธุรกิจจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “นกฮูก" เป็นอันดับหนึ่ง และ “จิ้งจอก"(ประนีประนอม)เป็นอันดับสองและ"เต่า"เป็นอันดับสุดท้าย 3. ผู้บริหารระดับกลางที่มีอายุมากขึ้นหรือมีประสบการณ์มากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับหัวหน้าด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก" ลดลง 4. ผู้บริหารระดับกลางที่มีระดับการศึกษาสูงขึ้นหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานด้วยพฤติกรรม"จิ้งจอก" และ “ฉลาม"(บังคับ)สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางที่มีระดับการศึกษาน้อยหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาน้อยตามลำดับและผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ด้านบริหารน้อยจัดการความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานด้วยพฤติกรรม "ตุ๊กตาหมี" สูงและลดลงเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากขึ้นและสูงขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากที่สุดและผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ด้านบริหารน้อยจัดการความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก" น้อยและเพิ่มขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากขึ้นและลดลงเมื่อมีประการณ์ด้านบริหารมากที่สุด 5. ผู้บริหารระดับกลางที่มีอายุมากขึ้นหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยพฤติกรรม “ฉลาม" และ “เต่า" ลดลงตามลำดับและผู้บริหารระดับกลางที่แต่งงานแล้วหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นจัดการความขัดแย้งกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยพฤติกรรม “นกฮูก" สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางที่โสดหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาน้อย 6. ผู้บริหารระดับกลางเพศหญิงรับรู้ว่าหัวหน้าจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก" สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางเพศชายและผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ในงานด้านบริหารมากขึ้นหรือมีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นรับรู้ว่าหัวหน้าจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “จิ้งจอก" ลดลง 7. ผู้บริหารระดับกลางที่มีประสบการณ์ด้านบริหารน้อยรับรู้ว่าเพื่อนร่วมงานจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “ตุ๊ตาหมี" สูงและลดลงเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากขึ้นและสูงขึ้นเมื่อมีประสบการณ์ด้านบริหารมากที่สุด 8. ผู้บริหารระดับกลางที่มีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้นรับรู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจัดการความขัดแย้งกับตนด้วยพฤติกรรม “นกฮูก" สูงกว่าผู้บริหารระดับกลางที่มีจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชาน้อย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วิศิษฐานนท์, ลัดดา, "แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคลของบุคลากร ในองค์กรธุรกิจตามการรับรู้ของผู้บริหารระดับกลาง" (1991). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 39045.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/39045