Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

EFFECTIVENESS OF INJURY AND ILLNESS PREVENTION PROGRAM AMONG RICE FARMERS AT ONGKHARAK DISTRICT NAKHON NAYOK PROVINCE THAILAND

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน ในกลุ่มเกษตรกรนาข้าว อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ประเทศไทย

Year (A.D.)

2013

Document Type

Thesis

First Advisor

Wattasit Siriwong

Faculty/College

College of Public Health Sciences (วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Public Health

DOI

10.58837/CHULA.THE.2013.2088

Abstract

The objective of this study was to determine the effects of an injury and illness prevention program on safety and health among rice farmers in Nakhon Nayok province, Thailand. This was a quasi-experimental study. Multistage sampling was employed. Intervention group was randomly selected out of 62 rice farmers and another 55 rice farmers served as the control group. A structured face-to-face interview questionnaire was administered to participants.The two-week intervention program consisted of four elements including 1) health education 2) safety inspection 3) safety communication and 4) health surveillance. Data were collected at baseline and four months after the intervention (follow-up). The evaluation of program by measuring risk perception, safety behavior, potential risk, injury and illness, and number of days lost. For numeric data, General linear model repeated measures ANOVA (GLM) and Mixed Model were used to quantify and test the statistical significance of the intervention effect for each type of score. For dichotomous data, the effect of intervention program was assessed from Generalized Linear Models. P-values

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน ในกลุ่มเกษตรกรนาข้าว อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยทำการศึกษาด้วยวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้วิธีเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากตัวอย่างกลุ่มทดลอง 62 คน และกลุ่มควบคุม 55 คน โปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน ระยะเวลา 2 สัปดาห์ประกอบด้วย 1) การให้สุขศึกษา 2) การตรวจความปลอดภัย 3) การสื่อสารด้านความปลอดภัย และ 4) การเฝ้าระวังด้านสุขภาพ ทั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานก่อนการให้โปรแกรมและหลังจากการให้โปรแกรมเป็นเวลา 4 เดือน และทดสอบผลของโปรแกรมโดยการวัดการรับรู้ความเสี่ยง พฤติกรรมความปลอดภัย ความเสี่ยงในกระบวนการทำนาข้าว การบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำนา และจำนวนวันที่สูญเสียไปจากการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำนา ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติทำโดยการเปรียบเทียบความต่างของข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยตัวแปรตามเชิงปริมาณใช้วิธี General linear model repeated measures ANOVA (GLM) และ Mixed Models สำหรับตัวแปรตามเชิงคุณภาพใช้วิธี generalized linear models เพื่อหาขนาดผลของโปรแกรมในแต่ละช่วงเวลา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงานมีประสิทธิผล ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งลดความเสี่ยงในกระบวนการทำนาข้าว นอกจากนี้ โปรแกรมมีผลในการลดการเจ็บป่วยที่เกียวข้องกับระบบประสาทจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช การเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์ ตลอดจนลดจำนวนวันที่สูญเสียไปจากการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยทั้งจากเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการทำนา การใช้สารกำจัดศัตรูพืชและการยศาสตร์ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมมีผลเชิงลบต่อการบาดเจ็บจากการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการทำนา ข้อค้นพบนี้แสดงว่า ผู้วิจัยสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมป้องกันการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน เช่น การเพิ่มวิธีสื่อสารความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานในกลุ่มเกษตรกรนาข้าว ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยสามารถนำข้อค้นพบจากการศึกษานี้เป็นแนวทางในการรณรงค์ด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

Share

COinS