Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้กฎหมายบังคับถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีในกิจการไซโลและห้อง เย็นเปรียบเทียบกับคลังสินค้า

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The law's enforcement to rights and duties parties in silo and cold storage compares with warehouse

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย

Second Advisor

ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.427

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรกต้องการศึกษาว่ากิจการคลังสินค้าไซโลและห้องเย็น มีลักษณะที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันประการใด และประการที่สอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับในธุรกิจไซโลและห้องเย็นว่า สามารถนำหลักกฎหมายว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ได้โดยตรงหรือสามารถนำมาใช้ในลักษณะอื่นได้มากน้อยเพียงใด ผลจากการวิจัยปรากฏว่า ถ้าพิจารณาในแง่ของกฎหมายแพ่งอย่างเดียวแล้ว มีนักกฎหมายเห็นว่าธุรกิจคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น น่าจะเป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เหมือนกัน เพราะมีลักษณะของการดำเนินกิจการและวัตถุประสงค์เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของวิธีการเก็บรักษาและประเภทของสินค้าเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาในส่วนของกฎหมายที่ใช้ในการควบคุม กำกับ และดูแล นับตั้งแต่พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ.2471 จนถึงประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันถือว่ากิจการไซโลและห้องเย็นไม่ใช่กิจการคลังสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2535 ได้กำหนดให้กิจการไซโลและห้องเย็นเป็นเพียงกิจการที่คล้ายคลึงกันกับกิจการคลังสินค้าเท่านั้น ในส่วนกฎหมายแพ่งที่จะนำใช้บังคับแก่กิจการไซโลและห้องเย็น ได้แยกพิจารณาออกเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงก่อนจะมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองใบรับสินค้าของกิจการไซโลและห้องเย็นแลการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า คู่สัญญาคงผูกพันกันตามหลักกฎหมายว่าด้วยฝากทรัพย์ หากมีการสลักหลังใบรับสินค้าเพื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้าก็ถือว่าเป็นการโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจงตามมาตรา 306 ป.พ.พ. และหากมีการสลักหลังใบรับสินค้าเพื่อจำนำสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นการจำนำโดยมอบให้บุคคลที่สามเป็นผู้ดูแลทรัพย์ที่จำนำตามมาตรา 749 ป.พ.พ. ส่วนในช่วงหลังที่มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว ในสาระสำคัญของประกาศได้กำหนดให้กิจการไซโลและห้องเย็น มีการออกใบรับรองคลังสินค้าและประทวนสินค้า ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าได้ทำนองเดียวกับกิจการคลังสินค้า ซึ่งในกรณีหลังนี้กฎหมายที่จะนำมาใช้ระหว่างคู่กรณีคือหลักกฎหมายว่าด้วยเก็บของในคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยนำมาใช้ในฐานะเป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 วรรค 3 ป.พ.พ.

Share

COinS