Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงพ่วงขายในสัญญาแฟรนไชส์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Legal measures corncerning tie-ins in franchising agreement
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
พิเศษ เสตเสถียร
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.420
Abstract
ข้อตกลงพ่วงขายเป็นการขายสินค้าชนิดหนึ่ง (สินค้าหลัก) โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องรับสินค้าชนิดที่สอง (สินค้าพ่วง) ไปด้วย ข้อตกลงพ่วงขายเป็นข้อตกลงจำกัดการแข่งขัน ซึ่งผู้ให้แฟรนไชส์มักนำมาใช้โดยกำหนดให้ผู้รับแฟรนไชส์ซื้อสินค้าต่าง ๆ จากนอกเหนือไปจากตัวสินค้าแฟรนไชส์เพื่อที่จะได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจภายใต้ชื่อทางการค้าของตน ข้อตกลงพ่วงขายนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดสินค้า กล่าวคือ เป็นการบังคับให้ผู้รับแฟรนไชส์หมดโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าจากผู้อื่น ใช้อำนาจตลาดขยาย ไปมีอำนาจในอีกตลาดสินค้าหนึ่ง สร้างอุปสรรคทางการค้าและทำลายคู่แข่งขัน จากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการพ่วงขายในสัญญาแฟรนไชส์นั้นมีลักษณะที่จำกัดและขาดความเหมาะสม จึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไข พรบ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดย 1) ยกเลิกวิธีประกาศควบคุมธุรกิจ และประกาศห้ามทำข้อตกลงจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าโดยคณะกรรมการกลาง 2) กำหนดให้การฟ้องร้องคดีอาญาต้องผ่านการสอบสวนพิจารณาจากองค์กรของรัฐที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 3) กำหนดบทยกเว้นให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถทำข้อตกลงพ่วงขายได้ในบางกรณี โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจ ขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีไป และการทำข้อตกลงพ่วงขายดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดการค้าเป็นส่วนรวม
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศิลป์มหาบัณฑิต, มนตรี, "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงพ่วงขายในสัญญาแฟรนไชส์" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38765.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38765