Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Compensation under hire-purchase

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์

Second Advisor

สำเรียง เมฆเกรียงไกร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.419

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายว่า การกำหนดค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อของศาลไทยมีความเป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ให้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อหรือไม่ หากไม่เป็นธรรม สาเหตุเกิดจากเหตุใด และมีแนวทางแก้ไขได้อย่างไร ผลการวิจัยพบว่า ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้ออาจแยกพิจารณาได้เป็น 2 ประการ คือ ประการแรก กรณีสัญญา ไม่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ เช่าซื้อมาตรา 572 ถึง 574 และบททั่วไปว่าด้วยค่าเสียหายตามมาตรา 222 ถึง 225 และผลของการ เลิกสัญญาตามมาตรา 386 ถึง 394 บทบัญญัติของกฎหมายที่กล่าวมาจึงเพียงพอที่จะให้ความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาได้เช่นเดียวกับเอกเทศสัญญาอื่น คงมีปัญหาเฉพาะการบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 574 ที่ให้สิทธิเจ้าของหรือผู้ให้เช่าซื้อกลับ เข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้เช่าซื้อจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไปแล้วเพียงใด และไม่นำราคาทรัพย์สินที่ เช่าซื้อมาหักออกจากค่าเสียหายต่างๆ ก่อน ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่ผู้เช่าซื้อ จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะเช่าซื้อ ให้ ผู้ให้เช่าซื้อต้องขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ให้ เช่าซื้อ แล้วนำเงินที่ได้มาหักออกจากเช่าซื้อค้างชำระ หากเกินให้คนแก่ผู้เช่าซื้อ หากขาดผู้เช่าซื้อต้องรับผิด ประการที่สอง กรณีสัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญา ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทำสัญญา ซึ่งตามปกติ ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นบริษัทการเงินจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในสัญญาแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้เช่าซื้อจึงตกเป็นฝ่าย เสียเปรียบตามสัญญา เมื่อมีการผิดสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อจะเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาได้ทุกรายการ ทั้งยังได้รับทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืนด้วยศาลก็จะบังคับให้เป็นไปตามสัญญาทุกรายการเว้นแต่ เห็นว่าค่าเสียหายรายการใดสูงเกินไปก็จะลดลง โดยถือว่าเป็นเบี้ยปรับ จึงไม่ เป็นธรรมแก่ผู้เช่าซื้อ และสมควรแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะเช่าซื้อ โดยกำหนดให้คู่สัญญาไม่อาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้ หรือออกกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่องขึ้น เช่น ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าซื้อสินค้าๆ เป็นต้น

Share

COinS