Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนาระบบอิเล็กโทรโฟริซิส เพื่อวิเคราะห์โพลีมอร์ฟิคเอนไซม์บางชนิด สำหรับงานนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of electrophoretic system for typing of some polymorphic enzymes for forensic science in Thailand
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
สุกัญญา สุนทรส
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ชีวเคมี
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.576
Abstract
อิเล็กโทรโฟริซิส (electrophoresis) เป็นวิธีการทางชีวเคมีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์โพลีมอร์ฟิคเอนไซม์ (polymorphic enzymes) ในงานตรวจพิสูจน์บุคคล งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะประเมินระบบอิเล็กโทรโฟริซิสต่างๆ ในการวิเคราะห์โพลิมอร์ฟิคเอนไซม์สามชนิดจากโลหิตของมนุษย์ เพื่อใช้ในงานดังกล่าว ได้แก่ฟอสโฟกลูโคมิวเตส(phosphoglucomutase, PGM), แอซิดฟอสฟาเตส (acid phosphatase, EAP) และ เอสเทอเรส ดี (esterase D, EsD) โดยเปรียบเทียบ ผลจากระบบ อิเล็กโทรโฟริซิสบนอะกาโรส, โพลีอะคริลาไมด์เจล และ ไอโซอิเล็กทริกโฟกัสซิงบนโพลีอะคริลาไมด์เจลโดย Vertical midget electrophoresis (VM – IEF), Horizontal mini IEF (HM – IEF) และ Horizontal chamber electrophoresis (H – IEF) ผลของงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า อิเล็กโทรโพริซิสบนอะกาโรสและสตาร์ชที่ pH 7.4 สามารถจำแนก PGM ออกได้เพียง 3 รูปแบบคือ PGM 1, PGM, 2 และ PGM 2-1 อิเล็กโทรโฟริซิสบนโพลีอะคริลาไมด์ระบบต่อเนื่องที่ pH 7.4 และ ระบบไม่ต่อเนื่องที่ pH 8.9 ไม่สามารถจำแนกไอโซไซม์ของ PGM ออกจากกันได้ ไอโซอิเล็กทริกโฟกัสซิงบนโพลีอะคริลาไมด์เจลที่ pH 5-7 โดย H – IEF และที่ pH 5.0 – 6.5 ซึ่งมี 1.2% EPPS โดย HM – IEF สามารถจำแนก PGM ออกได้ resolution สูงที่สุดและได้จำนวนถึง 10 รูปแบบคือ 1+, 1-, 1+1-, 2+, 2-, 2+2-, 1+2+, 1+2-, 1-2+ และ 1-2- ไอโซอิเล็กทริกโฟกัส ซิงบนโพลีอะคริลาไมด์เจลที่ pH 4-8 โดย H – IEF และที่ pH 5.0-6.5 โดย HM – IEF สามารถจำแนก EAP ออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ A, B และ BA การพัฒนระบบนี้โดยการเพิ่ม 3.14% HEPES สามารถจำแนก EAP และ EsD ได้พร้อมกันโดยจำแนกออกได้เป็น 5 รูปแบบคือ EsD 1, EsD 2, Esd 2.1, EsD 5.1 และ EsD 5.2จากการศึกษาความเสถียรของ PGM, EAP และ EsD พบว่า PGM มีความเสถียรสูงกว่า EAP และ EsD อายุสูงสุดของคราบโลหิตที่ยังสามารถนำมาวิเคราะห์รูปแบบเอนไซม์ทั้งสามได้ คือ 105, 21 และ 12 วัน ตามลำดับ ได้ศึกษาการกระจายของ PGM, EAP และ EsD ในประชากรไทยด้วยระบบไอโซอิเล็กทริกโฟกัสซิงบนโพลีอะคริลาไมด์เจลที่ pH 5-7 และ pH 4-8 โดย H – IEF จากโลหิต 250 ตัวอย่าง พบว่า gene frequency ของ PGM1คือ PGM1 (0.596), PGM11- (0.126), PGM12+(0.162) และ PGM12- (0.116) gene frequency ของEAP คือ pA (0.292) และ pB (0.708) และ gene frequency ของ EsD 1 (0.688), EsD 2 (0.306) และ EsD 5 (0.006) ส่วนอำนาจในการจำแนก (discriminating power, DR) ของ PGM, EAP และ EsD เท่ากับ 0.79, 0.57 และ 0.59 ตามลำดับ และ DP รวมของทั้งสามเอนไซม์มีค่าสูงถึง 0.96
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โชติเกษมสุข, สมพร, "การพัฒนาระบบอิเล็กโทรโฟริซิส เพื่อวิเคราะห์โพลีมอร์ฟิคเอนไซม์บางชนิด สำหรับงานนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทย" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38726.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38726