Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของราเอคโดไมเคอร์ไรซ่าที่แยกได้ต่อการเจริญของกล้าสนสามใบ (Pinus kesiya royle ex gordon)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of isolated ectomycorrhizal fungi on growth of khasia Pine (Pinus kesiya royle ex gordon) seedlings
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ประกิตติ์สิน สีหนนทน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
จุลชีววิทยา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.572
Abstract
แยกราเอคโตไมคอร์ไรซ่าจากรากของกล้าสนเขา( Pinus spp.) ซึ่งได้จากศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 5 จังหวัดในประเทศไทย ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าได้จำนวน 18 สายพันธุ์ แบ่งเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม โดยดูจากลักษณะโคโลนี และการสร้างสายใยที่คล้ายกัน ได้ตัวแทนกลุ่มดังนี้ Surin l, Pisanulok 2, Saraburi 3, Tak 4 และ ubo1lachathani 3 เป็นตัวแทนกลุ่มที่ 1, 2, 3, 4และ 5 ตามลำดับ เมื่อเลี้ยงราเอคโตไมคอร์ไรซ่าที่แยกได้ทั้ง 5 ชนิดลงใน Inoculum medium ที่มีอัตราส่วนของเวอร์มิคิวไลท์และดินพรุที่แตกต่างกัน พบว่า ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าที่แยกได้ทั้ง 5 ชนิด มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดใน Inoculum medium ที่มีอัตราส่วนของดินพรุต่อเวอร์มิคิวไลท์เท่ากับ 1 : 50 เมื่อทำการทดลองเปรียบเทียบอัตราการเจริญของสนสามใบระหว่างชุดควบคุมซึ่งไม่ได้ใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่ากับชุดการทดลองซึ่งใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าตัวแทนที่แยกได้ทั้ง 5 ชนิด พบว่าสนสามใบที่ปลูกโดยการใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าที่แยกได้ทั้ง 5 ชนิด มีอัตราการเจริญที่สูงกว่าสนสามใบที่ปลูกโดยการใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าที่แยกได้ทั้ง 5 ชนิด มีอัตราการเจริญที่สูงกว่าสนสามใบซึ่งปลูกโดยไม่ได้ใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกล้าสนสามใบที่ใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าทั้ง 5 ชนิด มีความยาวลำต้นอยู่ระหว่าง 1 1.88-15.68 ซม. ความยาวรากอยู่ระหว่าง 10.75-14.05 ซม. น้ำหนักสดของลำต้นอยู่ระหว่าง 1.61-2.42 ก. น้ำหนักสดของรากอยู่ระหว่าง 0.18-0.31 ก. น้ำหนักแห้งของลำต้นอยู่ระหว่าง 0.35-0.73 ก. น้ำหนักแห้งของรากอยู่ระหว่าง 0.12-0.21 ก.เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นอยู่ระหว่าง1.83 -2.1 มม. เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซ่าที่รากอยู่ระหว่าง 44.60-67.50 % เปอร์เซ็นต์การอยู่รอดอยู่ระหว่าง 84.48-87.44 % ปริมาณธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยม อยู่ระหว่าง 1.006- 1 .347%, 0.081-0.106% และ0.770-1.950% ตามลำดับ ในขณะที่กล้าสนสามใบที่ไม่ได้ใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่ามีความยาวลำต้นเท่ากับ 10.01 ซม.ความยาวรากเท่ากับ 6.47 ซม. น้ำหนักสดของลำต้นเท่ากับ 0.54 ก. น้ำหนักสดของ รากเท่ากับ 0.04 ก. น้ำหนักแห้งของลำต้นเท่ากับ 0.16 ก.น้ำหนักแห้งของรากเท่ากับ 0.03 ก. เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นเท่ากับ 1.05 มม. เปอร์เซ็นต์การอยู่รอดเท่ากับ 2 5 . 6 5% ปริมาณธาตุไนโตรเจน, ฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมเท่ากับ 0.089,0.07 110.77% ตามลำดับ เปรียบเทียบอัตราการเจริญของสนสามใบซึ่งใส่ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าทั้ง 5 ชนิด พบว่า Tak 4 มีผลต่ออัตราการเจริญของสนสามใบสูงสุดในทุกๆ parameter ที่ทำการวัดเปรียบเทียบ ราเอคโตไมคอร์ไรซ่าที่มีผลต่ออัตราการเจริญของสนสามใบรองลงมาได้แก่ Saraburi 3, Ubolrachathani 3, Surin 1 และ Pisanulok 2 ตามลำดับ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หุ่นโตภาพ, ศราวุธ, "ผลของราเอคโดไมเคอร์ไรซ่าที่แยกได้ต่อการเจริญของกล้าสนสามใบ (Pinus kesiya royle ex gordon)" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38722.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38722