Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการสื่อสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอของบุคคลต่างวัย ที่มีต่อความสามารถในการประเมินคุณภาพของข่าวสาร ของเด็กอายุ 5-10 ปี

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The effects of uninformative communication by persons of various ages on the ability of children five to ten years of ages to assesses the quality of the messages

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยาพัฒนาการ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.732

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของความสามารถในการประเมินคุณภาพของข่าวสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอและอิทธิพลของผู้พูดที่มีวัยต่างกันที่มีต่อความสามารถในการประเมินคุณภาพของข่าวสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอในเด็กอายุ 5-10 ปี ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กที่มีอายุมากกกว่ามีความสามารถในการประเมินคุณภาพของข่าวสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอได้ถูกต้องมากกว่าเด็กที่มีอายุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. เด็กในระดับอายุ 6 และ 8 ปี มีความสามารถต่างกันในการประเมินคุณภาพของข่าวสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอเมื่อผู้พูดมีวัยต่างกันโดยที่เด็กในระดับอายุ 6 ปี สามารถประเมินคุณภาพของข่าวสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอได้ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อผู้พูดเป็นเด็กมากกว่าเมื่อผู้พูดเป็นผู้ใหญ่ เด็กในระดับอายุ 8 ปี สามารถประเมินคุณภาพของข่าวสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอได้ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อผู้พูดเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเมื่อผู้พูดเป็นเด็ก ส่วนเด็กในระดับอายุ 10 ปี สามารถประเมินคุณภาพของข่าวสารที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอย่างเพียงพอได้ถูกต้องไม่แตกต่างกันเมื่อผู้พูดมีวัยต่างกัน

Share

COinS