Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอร์ส ที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจ ขณะรักษาในโรงพยาบาล

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of rogerian group counseling on anxiety reduction in hospitalized heart disease patients

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

หลุย จำปาเทศ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยาการปรึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.719

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอรส์ ที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ปวยโรคหัวใจ ขณะรักษาในโรงพยาบาล โดยมีสมมติฐานว่าความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขณะรักษาในโรงพยาบาลจะลดลงหลังจากเข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจขณะรักษาในโรงพยาบาลโรคทรวงอก จำนวน 8 คน เป็นผู้ชาย 3 คนผู้หญิง 5 คน อายุระหว่าง 30-55 ปี ที่สมัครใจเข้าร่วมกลุ่มการทดลอง โดยทุกคนเข้าร่วมการปรึกษาจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอร์สเป็นเวลา 8 วัน ติดต่อกันวันละ 2 ชั่วโมง 30 นาทีรวมเวลา 20 ชั่วโมง มีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่มการวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแบบวัดความวิตกกังวลต่อสภาพการณ์ของสปิลเบอร์เกอร์ (State-Trait Anxiety Inventory Form X-1 by Spielberges, 1870) โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดก่อนเข้ากลุ่มและตอบแบบวัดฉบับเดียวกันทันทีหลังจากสิ้นสุดการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยทดสอบความแตกต่างของคะแนนความวิตกกังวลที่วัดก่อนการทดลองและหลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลของการวิจัยพบว่า คะแนนวิตกกังวลของกลุ่มผู้ป่วยก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 แสดงว่า ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจ ขณะรักษาในโรงพยาบาลลดลงหลังจากเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวของโรเจอร์ส

Share

COinS