Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการเรียนรู้คำบรรยาย และเทคนิคการจดคำบรรยายที่มีต่อความสามารถ ในการระลึกตามตัวแนะและความเข้าใจของนิสิตปริญญาตรี

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The effect of lecture learning and note taking technigues on cued recall and comprehension of undergraduate students

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ชุมพร ยงกิตติกุล

Second Advisor

คัครางค์ มณีศรี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.118

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลของการเรียรู้คำบรรยายและเทคนิคการจดคำบรรยายที่มีต่อความสามารถในการระลึกตามตัวแนะและความเข้าใจ โดยการเปรียบเทียบการเรียนรู้คำบรรยาย 3 ประเภท ได้แก่ การจดคำบรรยายโดยไม่ทบทวน การจดคำบรรยายและทบทวน และการไม่ได้ฟังคำบรรยายแต่ทบทวนจากสมุดจดคำบรรยายของผู้อื่น และเปรียบเทียบเทคนิคการจดคำบรรยาย 2 วิธี ได้แก่ แบบเดิมและแบบเป็นรายข้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ประจำภาคปลาย ปีการศึกษา 2534 จำนวน 210 คน ซึ่งจำแนกออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 35 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทาง แบบวัดซ้ำ 1 ตัวแปร (Three-way Analysis of Variance-Repeated measures on one factor) และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยวิธีการของตูกี (Tukey's HSD Test) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มที่จดคำบรรยายและทบทวน มีคะแนนความสามารถในการระลึกตามตัวแนะสูงกว่ากลุ่มที่จดคำบรรยายโดยไม่ทบทวน และกลุ่มที่ไม่ได้ฟังคำบรรยายแต่ทบทวนจากสมุดจดคำบรรยายของผู้อื่น 2. กลุ่มที่จดคำบรรยายโดยไม่ทบทวน มีคะแนนความสามารถในการระลึกตามตัวแนะสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฟังคำบรรยายแต่ทบทวนจากสมุดจดคำบรรยายของผู้อื่น 3. กลุ่มที่จดคำบรรยายโดยไม่ทบทวน มีคะแนนความเข้าใจสูงกว่ากลุ่มที่จดคำบรรยายและทบทวน และกลุ่มที่ไม่ได้ฟังคำบรรยายแต่ทบทวนจากสมุดจดคำบรรยายของผู้อื่น 4. กลุ่มที่จดคำบรรยายแบบเป็นรายข้อ มีคะแนนความสามารถในการระลึกตามตัวแนะสูงกว่ากลุ่มที่จดคำบรรยายแบบเดิม 5. กลุ่มที่จดคำบรรยายแบบเป็นรายข้อและกลุ่มที่จดคำบรรยายแบบเดิมมีคะแนนความเข้าใจไม่แตกต่างกัน 6. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทของการเรียนรู้คำบรรยายและเทคนิคการจดคำบรรยายไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Share

COinS