Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจระหว่างการรักษา ด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลงกับชนิดไม่ดัดแปลง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Comparision of respiratory complications between modified and unmodified electroconvulsive therapy

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

เอม อินทกรณ์

Second Advisor

ประกิต ศรีพลากิจ

Third Advisor

พวงสร้อย วรกุล

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตเวชศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.570

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจในผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลงกับชนิดไม่ดัดแปลง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบศึกษาไปข้างหน้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลงของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 40 รายและผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดไม่ดัดแปลงของโรงพยาบาลศรีธัญญา 40 ราย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสังเกตอาการแทรกซ้อนทางคลินิกของระบบหายใจ และเครื่องมือวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงทางผิวหนัง การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างโดยการทดสอบที (unpaired t-test) ผลการวิจัยพบว่า1.คะแนนรวมเฉลี่ยของอาการแทรกซ้อนทางคลินิกของระบบหายใจของกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลงกับชนิดไม่ดัดแปลง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่คะแนนเฉลี่ยของสิ่งคัดหลั่งและการหยุดหายใจไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนเฉลี่ยของสีผิวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบโรคปอดอักเสบจากการสูดสำลักหลังการรักษาทั้งสองวิธี 2.ค่าเฉลี่ยของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงขณะรักษาของกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดดัดแปลง มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าชนิดไม่ดัดแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Share

COinS