Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความคาดหวังในชีวิตของเด็กเร่ร่อน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Life expectations of street children

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

อัมพล สูอำพัน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตเวชศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.568

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบต่างๆ คือ เพศ อายุ ระยะเวลาที่เร่ร่อน ภูมิลำเนา ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางการศึกษา กับลักษณะความคาดหวังในชีวิตด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ ครอบครัว สังคมของเด็กเร่ร่อน และรวมทั้งศึกษาถึงแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตของเด็กเร่ร่อน ประชากรเป็นเด็กเร่ร่อนในมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS-X (.Statistical Package for Social Science) ผลการวิจัยพบว่า เด็กเร่ร่อนมีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านการศึกษาในระดับต่ำร้อยละ 76.0 ระดับปานกลางร้อยละ 20.0 ระดับสูงร้อยละ 4.0 มีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านการประกอบอาชีพ ในระดับต่ำร้อยละ 60.0 ระดับปานกลางร้อยละ 40.0 มีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านครอบครัวในระดับต่ำร้อยละ 76.0 ระดับปานกลางร้อยละ 24.0 มีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตด้านสังคม ในระดับต่ำร้อยละ 38.0 ระดับปานกลางร้อยละ 62.0 และมีแนวโน้มความคาดหวังในชีวิตรวมทุกด้านในระดับต่ำร้อยละ 64.0 ระดับปานกลางร้อยละ 36.0 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบต่างๆ กับความคาดหวังในชีวิตของเด็กเร่ร่อน พบว่า องค์ประกอบทางสถานภาพส่วนบุคคลกับความคาดหวังในชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบทางสถานภาพด้านเศรษฐกิจสังคมของครอบครัวของเด็กเร่ร่อนกับความคาดหวังในชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาตามภูมิลำเนาพบว่า ความคาดหวังในชีวิตด้านสังคมระหว่างเด็กเร่ร่อนที่มีภูมิลำเนาในภาคกลางกับภาคเหนือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Share

COinS