Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมการช่วยเหลือตนเองของเด็กวัย 2-3 ปี

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Child rearing practice and selp-help skilis of taddlers

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

อุมาพร ตรังคสมบัติ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตเวชศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.557

Abstract

การวิจัย เชิงบรรยายนมวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการช่วยเหลือ ตนเองของเด็กกับปัจจัยบางประการของเด็กและบิดามารดา วิธีการอบรม เลี้ยงดู ความสอดคล้อง ในการอบรม เลี้ยงดู ตลอดจนสัมพันธ์ภาพของบิดามารดา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุระหว่าง 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี 6 เดือน ที่ เข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์สุขวิทยาจิต และโรงพยาบาลราชวิถี จำนาน 77 คน เด็กเหล่านี้เป็นเด็กปกติ มีความสามารถช่วยเหลือตนเอง ตามเกณฑ์ประเมินพัฒนาการของ แบบคัดกรองพัฒนาการเด็กไทย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม บิดาและมารดาเกี่ยวกับ พฤติกรรมการช่วยเหลือตนเองของเด็ก วิธีการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา และสัมพันธ์ภาพระหว่างบิดามารดา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนการช่วยเหลือ ตนเองส่งกว่าเกณฑ์เฉลี่ยใน 2 ด้าน คือ ด้านการขับถ่าย และด้านการทำความสะอาดร่างกายและแต่งตัว แต่มีคะแนนต่ำกว่าหรือ เท่ากับเกณฑ์เฉลี่ยในด้านการรับประทานอาหาร บิดามารดาส่วนใหญ่ เลือกใช้การอบรม เลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย โดยที่มารดาจะเป็นผู้ดูแลและดัดสินใจ เรื่องการอบรม เลี้ยงดูในกิจกรรมดังกล่าวของเด็กด้วยตนเองมากที่สุด และพบว่าปัจจัยด้านมารดาบางประการเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนการช่วย เหลือตน เองของเด็กกล่าวคือ ระดับการศึกษาของมารดาและ เวลาที่มารดาทำงานนอกบ้านใช้ดูแลลูก มีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการขับถ่าย (p<.01, p<.05) รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการรับประทานอาหาร (p< .01) ในขณะที่ปัจจัยด้าน บิดาทุกประการไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคะแนนการช่วยเหลือตนเองของเด็กในทุกด้าน

Share

COinS