Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค : ความร่วมมือ และความขัดแย้ง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

South Asian Assoclation for Regional Cooperation (SAARC) : cooperation and conflict

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สมพงศ์ ชูมาก

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.498

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) ในช่วงปี พ.ศ. 2523-2533 ซึ่งเป็นระยะของความพยายามในการก่อตั้งและดำเนินการในระยะสั้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของการก่อตั้งองค์การดังกล่าว ความร่วมมือและความขัดแย้งกันในระหว่างรัฐสมาชิกของ SAARC ตลอดจนแนวโน้มขององค์การดังกล่าวในอนาคต ผลของการศึกษาพบว่า แนวความคิดในการจัดตั้งองค์การแห่งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ (1) ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกต่างก็มีการสถาปนาองค์การความร่วมมือระดับภูมิภาคขึ้นเพื่อการปรึกษาหารือในระดับภูมิภาค แต่ภูมิภาคเอเชียใต้การดำเนินการดังกล่าวนี้ยังไม่ได้รับการสถาปนาขึ้นเลย (2) เอเชียใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีความยากจนมากที่สุดในโลก ดังนั้นหากสามารถสถาปนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคขึ้นย่อมสามารถช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนภายในภูมิภาค (3) ความร่วมมือในกรอบของ SAARC จะช่วยเสริมฐานะและอำนาจการต่อรองของประเทศฝ่ายใต้ในการเจรจาเหนือ-ใต้ รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศใต้-ใต้ในระดับโลก (4) ความร่วมมือระดับภูมิภาคในเอเชียใต้จะทำให้กลุ่มนี้มีพลังอำนาจและเป็นที่สนใจมากขึ้นในระดับโลก (5) ความร่วมมือระดับภูมิภาคในเอเชียใต้อาจเป็นกลไกที่นำไปสู่การลดปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาคได้ (6) การพัฒนาโครงการลงทุนร่วมกันของ SAARC จะช่วยจำกัดอิทธิพลและบทบาทของบรรษัทข้ามชาติที่ครอบงำอยู่ในภูมิภาค เป็นต้น สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาคจึงได้รับการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยความคิดริเริ่มของอดีตประธานาธิบดีเซียอูร์ ราห์มานแห่งบังคลาเทศ และได้มีการพัฒนาไปพอสมควรทั้งในด้านโครงสร้างและความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะทางด้านความร่วมมือนั้นได้มีการร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น (1) การเกษตร (2) การสาธารณสุขและประชากร (3) การอุตุนิยมวิทยา (4) การไปรษณีย์ (5) การป้องกันการลักลอบค้ายาเสพติด (6) การพัฒนาชนบท (7) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (8) การกีฬาศิลปะและวัฒนธรรม (9) การโทรคมนาคม (10) การขนส่ง (11ป สตรีกับการพัฒนา (12) การแลกเปลี่ยนทางด้านโสตทรรศนะ (13) การท่องเที่ยว (14) การจำแนกระบบเอกสาร (15) การจัดสรรทุนและตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยของ SAARC (16) การแลกเปลี่ยนเยาวชนอาสาสมัคร (17) การป้องกันการก่อการร้าย เป็นต้น แต่ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์การมีมาก โดยเฉพาะอินเดียนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในปัญหาความขัดแย้งทั้งมวลอันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะของจักรวรรดินิยมอินเดีย ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวนี้ที่สำคัญได้แก่ (1) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถาน (2) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและบังคลาเทศ (3) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและศรีลังกา (4) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ มัลดิสฟ์ เนปาล และภูฐาน ผลของการศึกษาพอสรุปได้ว่า ความร่วมมือของ SAARC ในระยะของความพยายามในการก่อตั้งและการดำเนินการในระยะต้นมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสภาพความเป็นจริงภายในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า SAARC ยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นสมาคมความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีลักษณะเหนือชาติ ดังนั้นจึงไม่นำเอาประเด็นความร่วมมือทางด้านการเมืองมาพิจารณา

Share

COinS