Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การให้บริการข่าวสารการเกษตรผ่านสื่อโทรทัศน์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The agricultural information services via television

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ปนัดดา ธนสถิตย์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การสื่อสารมวลชน

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.386

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการผลิตและโครงสร้างเนื้อหารายการข่าวสาร การเกษตรที่เผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์ ตลอดจนเข้าใจถึงผลจากการให้บริการข่าวสารดังกล่าว การศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการข่าวสารการเกษตรทางสื่อโทรทัศน์ 2 รายการคือ รายการ “ข่าวเกษตรกร" และรายการ “ข่าวเกษตรดินดำ น้ำชุ่ม" ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 จำนวนทั้งสิ้น 79 ตอน ซึ่งผลของการวิจัยมีดังนี้ กระบวนการผลิตข่าวสารการเกษตรของสถานีโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการดำเนินการผลิต และขั้นตอนการประเมินผล ทีมผู้ผลิตรายการใช้กรอบแห่งนโยบายองค์กรผู้ผลิต วัตถุประสงค์ของรายการ ผลประโยชน์ของผู้สนับสนุนรายการและกลุ่มเป้าหมายรายการเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตรายการจึงมีส่วนในการกำหนดโครงสร้างเนื้อหาและรูปแบบรายการ ผลการให้บริการข่าวสารการเกษตรผ่านสื่อโทรทัศน์จึงมีลักษณะการให้และรับส่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพทางการเกษตรมากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกรเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามผลจากการให้บริการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของรายการและบทบาทหน้าที่ทางสังคมที่สื่อมวลชนใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติอีกประการหนึ่ง

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to examine the production process, the content structure, and the effects of television agricultural news programs. This qualitative research content analyzed the programs “Agricultural News" and “Din Dam Nam Chum Agricultural News" from November 1, 1991 to November 30, 1991 looking at 79 sections of the programs altogether. The study showed that the production process of television agricultural news programs consisted of three phrases: planning, production and evaluation. The policy of the organization, the objectives and evaluation. The policy of the organization, the objectives of the program, the interest of the sponsors and the target audience were factors that the production team took into consideration. Thus, these factors determined, to a certain extent, the content structure and the format of the programs. As a result, instead of giving priority to farmers’ interest, these agricultural news programs actually provided information that was more useful for non-farmers. Nevertheless, these programs were still of considerable value and they reflected another social function performed by mass media.

Share

COinS