Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ข่าวเหตุการณ์อื้อฉาวของกรมตำรวจผ่านสื่อมวลชนระหว่าง พ.ศ.2533-2534

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Clarification of scandals concerning the Royal Thai Police through mass media between 1990-1991

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

จุมพล รอดคำดี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การสื่อสารมวลชน

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.380

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการแก้ข่าวอื้อฉาวของกรมตำรวจ ระหว่างปี พ.ศ. 2533-2534 อันได้แก่เหตุการณ์ตำรวจสุพรรณและมติ ก.ตร.อัปยศ ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่ง พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ และเหตุการณ์ยักยอกเพชรซาอุฯ ในปี พ.ศ. 2534 ซึ่ง พล.ต.อ. สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ พร้อมทั้งศึกษาวิธีการของสื่อมวลชนในการนำเสนอการแก้ข่าวและระดับความเชื่อถือของสื่อมวลชนที่มีต่อการแก้ข่าวอื้อฉาวของกรมตำรวจด้วย ผลการวิจัยพบว่า กรมตำรวจมีวิธีการแก้ข่าวโดยมุ่งหวังต่อผลในการลดความขัดแย้งมากกว่าการนำเสนอข้อเท็จจริงแก่ประชาชน และไม่เคยมีการใช้หลักการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมแก้ไขภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น ทำให้การแก้ข่าวอื้อฉาวของกรมตำรวจทั้งสามกรณีไม่ได้รับความเชื่อถือจากสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เพราะกรมตำรวจมักแก้ข่าวล่าช้า ไม่ให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนอย่างเพียงพอและขาดการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร อันเป็นเหตุให้ผู้รับสารเกิดความสับสนและไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการแก้ข่าวอื้อฉาวของกรมตำรวจด้วย คือภาพพจน์ในทางลบของกรมตำรวจ บุคลิกของอธิบดีกรมตำรวจและสภาวะทางการเมืองในขณะนั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งมีส่วนสนับสนุนในการแก้ข่าวอื้อฉาวของกรมตำรวจคือ กรมตำรวจยังไม่สามารถใช้สื่อมวลชนเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ได้ตามวัตถุประสงค์ แม้แต่สื่อทางวิทยุกระจายเสียงของกรมตำรวจ ซึ่งมีอยู่ 44 สถานีทั่วประเทศก็ตาม จึงทำให้การแก้ข่าวเหตุการณ์อื้อฉาวของกรมตำรวจระหว่าง พ.ศ. 2533-2534 ไม่ประสบความสำเร็จ

Share

COinS