Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อเปลี่ยนภาพพจน์ธนาคารทหารไทย (2517-2533)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The use of corparate advertising on television for the image improvement of the Thai Military Bank, Ltd. (1970-1990)

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

พนา ทองมีอาคม

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การสื่อสารมวลชน

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.378

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงการใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ของธนาคารทหารไทยในการเปลี่ยนภาพพจน์ของธนาคาร จากธนาคารที่ประชาชนเข้าใจว่าให้บริการเฉพาะข้าราชการ - ทหาร สู่ธนาคารที่บริการประชาชนทั่วไป โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาและความหมายของบทภาพยนตร์และตัวภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารที่ออกอากาศเผยแพร่ทางโทรทัศน์ รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและศึกษาจากข้อมูลวิจัยเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 - 2533 ทั้งนี้วิธีการศึกษาเป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาสาระและความหมายรวมทั้งวิธีการเปลี่ยนภาพพจน์ของธนาคารทหารไทย สามารถแบ่งได้ 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคแรกเป็นยุคที่ธนาคารเปิดตัวออกสู่สาธารณชน จึงมีการโฆษณาด้วยการสื่อความหมายโดยการนำบริการต่างๆ ของธนาคารมาบอกกล่าวและนำเสนอให้ประชาชนรับทราบ ยุคที่สองเป็นยุคที่โฆษณาด้วยการสื่อความหมายในแนวของภาพยนตร์ในรูปแบบต่างๆ กัน และยุคที่สามซึ่งเป็นยุคของธนาคารพาณิชย์สมบูรณ์แบบ มีการโฆษณาไปตามบริบททางสังคม และสื่อความหมายด้วยการนำความทันสมัยของการให้บริการประชาชนเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ จากผลของการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่าปัจจุบันประชาชนยอมรับภาพพจน์ใหม่ของธนาคารทหารไทย มีประชาชนมาใช้บริการที่ธนาคารทหารไทยมากขึ้น ธนาคารก้าวขึ้นมาเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ แสดงให้เห็นว่าสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์มีบทบาทและมีส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนยอมรับธนาคารทหารไทย อีกทั้งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการส่งเสริมให้ธนาคารขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นกว่า 200 แห่ง เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกในการมาใช้บริการของประชาชน

Share

COinS