Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาสภาวะความสัมพันธ์ระหว่างความจำเป็นในการสื่อสารทรัพยากรทางการสื่อสาร และสิทธิการสื่อสาร เพื่อพิจารณาหาความเหมาะสมในการจัดตั้ง สถาบันวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study on the relations between communication meeds, communication resources and communication rights as to justify the establishment of the Nation Institute of Educational Television of Thailand (NIETV)
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ขวัญเรือน กิติวัฒน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสื่อสารมวลชน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.370
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาหาความสัมพันธ์ของลักษณะแนวโน้มการสื่อสารในด้านความจำเป็น ทรัพยากร และสิทธิ อันจะเป็นแนวทางในการจัดตั้งสถาบันวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย วิธีการวิจัยใช้แบบเดลไฟล์เทคนิค (Delphi Technique) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มผู้รับบริการการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา จำนวนกลุ่มละ 16 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่ามัธยฐาน, ฐานนิยม, Semi-Interquartile range, t-test, Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีความเร่งด่วนด้านนโยบาย (The Policy Urgency Index) บ่งชี้ว่าในลักษณะแนวโน้มที่เป็นการใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ตลอดจนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีดัชนีความเร่งด่วนด้านนโยบายสูง และผลการคาดคะเนระดับความมากน้อยของปัจจัยด้านความจำเป็น ทรัพยากร และสิทธิของการสื่อสาร พบว่ามีความแตกต่างกัน หมายความว่าระดับความจำเป็นมีมาก ในขณะที่ทรัพยากรด้านการสื่อสารและสิทธิของการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลางถึงน้อย ซึ่งจะสอดคล้องกับผลการทดสอบข้อสันนิษฐานด้วยค่า t-test ที่พบว่า การใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาในลักษณะแนวโน้มที่กำหนดให้ 6 แนวโน้ม มีความแตกต่างกันในปัจจัยด้านความจำเป็นกับทรัพยากร และสิทธิกับความจำเป็น แบบสอบถามที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยนี้ เมื่อทดสอบด้วยค่า Correlation Coefficient พบว่ามีความสอดคล้องต้องกันทั้งหมด การคาดคะเนเหตุการณ์ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นแน่นอน (90%) พบว่าทั้งการจัดตั้งสถาบันวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาฯ การปรับปรุงสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 ให้มีรูปแบบเช่นเดียวกับสถาบันวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ และการจัดตั้ง Head Production House จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 7 (2535-2539)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จุลวงศ์, อมรา, "การศึกษาสภาวะความสัมพันธ์ระหว่างความจำเป็นในการสื่อสารทรัพยากรทางการสื่อสาร และสิทธิการสื่อสาร เพื่อพิจารณาหาความเหมาะสมในการจัดตั้ง สถาบันวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาแห่งประเทศไทย" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38647.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38647