Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การวิเคราะห์การเขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง "ปริศนา"
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
An analysis of the script writing T.V. drama "Prissana"
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
โอฬาร วงศ์บ้านคู่
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสื่อสารมวลชน
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.367
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการเขียนบทละครโทรทัศน์ เรื่อง “ปริศนา" ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2530 ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบของบท วิธีการเขียน และการเปลี่ยนแปลงของบทละคร เมื่อนำมาผลิตเป็นละครโทรทัศน์ ทั้งนี้ โดยมีแหล่งข้อมูล คือ ผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่องนี้ คำให้สัมภาษณ์ของผู้จัดละคร ตลอดจนข้อมูลเอกสารและวีดิโอเทป หลังจากนั้นได้นำเสนอให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างนวนิยายกับบท และบทละครกับบทละครโทรทัศน์ จากการศึกษาพบว่า บทละครเป็นบทที่เขียนขึ้นเพื่อการแสดง ในการนำนวนิยายมาเขียนเป็นบท จึงต้องมีการเพิ่มรายละเอียด ความสมเหตุสมผลและเป็นไปได้ เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจและคล้อยตามเนื้อหาของละคร แต่ทั้งนี้การเขียนบทต้องคงอรรถรสเดิมของบทประพันธ์ให้มากที่สุด นอกจากนี้บทละครยังประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 6 ส่วน คือ โครงเรื่อง ตัวละครและการวางลักษณะนิสัยตัวละคร ความคิด การใช้ภาษา และภาพ โดยทั้งหมดต้องมีความสัมพันธ์ สอดคล้องไปในแนวทางเดียว และเมื่อนำบทละครมาผลิตเป็นละครโทรทัศน์ บทจะถูกดัดแปลง แก้ไขในหลายสิ่งหลายอย่างและเป็นการดัดแปลงที่ผู้เขียนไม่มีโอกาสได้ทราบ จนกว่าละครจะแพร่ภาพออกอากาศ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจากผู้กำกับการแสดง นักแสดง ผู้กำกับรายการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้อาจก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อบทละครโทรทัศน์
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สมิตสุวรรณ, เอื้องอรุณ, "การวิเคราะห์การเขียนบทละครโทรทัศน์เรื่อง "ปริศนา"" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38644.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38644