Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปิดรับสื่อมวลชนและความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ ต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์ไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Mass media exposure and opinion of Journalism students on the social Development role of Thai Newspapers

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

กนก วงษ์ตระหง่าน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การประชาสัมพันธ์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.352

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อมวลชนและความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาเปรียบเทียบตามตัวแปร เกี่ยวกับสถานภาพส่วนบุคคล พร้อมทั้งทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อมวลชนกับความคิดเห็นต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์ไทยจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 และ 4 มี 5 สถาบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยครูสวนดุสิต จำนวน 191 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักศึกษาวารสารศาสตร์ที่มี ปั้นปีการศึกษา ภูมิลำเนาเดิม และอาชีพของผู้ปกครองที่แตกต่างกัน มีการเปิดรับสื่อมวลชนมั่วไป (รวมทุกสื่อ) แตกต่างกัน และกลุ่มนักศึกษาที่มีสถาบันการศึกษา ภูมิลำเนาเดิม และลักษณะเขตที่อยู่เดิมแตกต่างกัน มีการเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกัน สำหรับความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ที่มีต่อบทบาทหนังสือพิมพ์ในการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ นั้น แตกต่างกันไปตามกลุ่มสถาบันการศึกษาที่สังกัด เฉพาะใน 8 ประเด็นคือ บทบาทการสร้างค่านิยมที่ถูกต้องในสังคม บทบาทการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม บทบาทการเป็นตลาดเสรีแห่งความคิดเห็นของสาธารณชน บทบาทการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย บทบาทการส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีของสังคม บทบาทการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน บทบาทการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและจริยธรรมแก่ผู้อ่าน และบทบาทการเผยแพร่โฆษณาสินค้า ส่วนตัวแปรอื่น ๆ คือ ชั้นปีการศึกษา เพศ ภูมิลำเนาเดิม ลักษณะเขตที่อยู่เดิม และอาชีพของผู้ปกครอง ไม่มีผลให้นักศึกษามีความแตกต่างกันในเรื่องความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า นักศึกษาทุกกลุ่มสถาบันการศึกษามองบทบาทหนังสือพิมพ์ในการเผยแพร่โฆษณาสินค้าอยู่ในระดับมากที่สุด และบทบาทการสร้างเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่ผู้อ่านน้อยที่สุด และต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่าหนังสือพิมพ์มีบทบาทในการพัฒนาสังคมโดยทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการเปิดรับสื่อมวลชนทั่วไป (ทุกสื่อรวมกัน) และการเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์ของนักศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับความคิดเห็นต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมของหนังสือพิมพ์

Share

COinS