Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของผู้นำศาสนาอิสลามต่อระบบพรรคการเมืองในจังหวัดปัตตานี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Pattern of political participation of Islamic Leaders toward poltical party system in Pattani Province
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การปกครอง
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.491
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลาม 3 ระดับ คือ อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ในจังหวัดปัตตานีผ่านทางระบบพรรคการเมืองว่าจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง แตกต่างหรือเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร ในแต่ละกลุ่มผู้นำศาสนา และ/หรือผู้นำศาสนาที่มีสถานภาพแตกต่างกันจะมีลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะใดบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวความคิดของผู้นำศาสนาเหล่านี้ต่อระบบพรรคการเมืองไทย การศึกษานี้ใช้วิธีการศึกษาในสองวิธีใหญ่ๆ คือ การค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารต่างๆ กับการออกแบบสอบถามเพื่อสัมภาษณ์ผู้นำศาสนาแล้วนำมาประมวลผลสรุปวิเคราะห์ การนำเสนอผลการศึกษาจึงออกมาในรูปของการพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลัก ผลสรุปจากการศึกษาพบว่า ผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีมีส่วนร่วมทางการเมืองหลายลักษณะแตกต่างกัน การมีส่วนร่วมที่สำคัญคือ การเกี่ยวข้องกับกระบวนการในการเลือกตั้ง เกี่ยวข้องกับผู้สมัครและพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งการเป็น “หัวคะแนน" และการช่วยเหลือสนับสนุนผู้สมัครและพรรคการเมืองบางพรรค สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผู้นำศาสนาอิสลามเป็นบุคคลสำคัญในชุมชนท้องถิ่นในฐานะผู้นำทางศาสนา ผู้นำเหล่านี้จึงมีอิทธิพลที่จะโน้มน้าวประชาชนให้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง สนับสนุนผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่งได้โดยใช้พิธีกรรมทางศาสนาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการโน้มน้าวประชาชนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้นำศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีเหล่านี้ ก็มีความเข้าใจในระบบพรรคการเมืองแตกต่างกัน แต่โดยรวมนั้นเข้าใจในระดับไม่ลึกซึ้งนัก ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากพรรคการเมืองมีบทบาทจำกัด ขาดการจัดตั้งองค์กรหรือสาขาพรรคในระดับท้องถิ่น บทบาทของพรรคการเมืองจึงแสดงออกโดยผ่านตัวแทนหรือผ่านทางผู้สมัครขอพรรคในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ความเข้าใจที่แตกต่างกันดังกล่าวนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานภาพส่วนตัวที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรง แต่จะมีนัยสำคัญมาจากระดับความสนใจทางการเมืองที่แตกต่างกันของผู้นำศาสนาแต่ละคนมากกว่า
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธนะ, สิวาพร, "ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของผู้นำศาสนาอิสลามต่อระบบพรรคการเมืองในจังหวัดปัตตานี" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 38573.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/38573