Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แรงจูงใจ, ทัศนคติ, บุคลิกภาพและอุปนิสัยทางการเมือง ของผู้มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ในจังหวัดมหาสารคาม

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Political motives, attitudes, personalities and habits of Maha Sarakham Electorate

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การปกครอง

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.484

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะแบบแผนของแรงจูงใจ, ทัศนคติ, บุคลิกภาพและอุปนิสัยทางการเมืองของผู้มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตามบนพื้นฐานของทฤษฎีและการออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม เพื่อสรุปความสัมพันธ์เชิงสาเหตุภายใต้อิทธิพลของบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อมหรือวัฒนธรรมทางการเมืองและเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดผลทางจิตวิทยา (CPTI) ในการศึกษา รวมถึงอธิบายถึงว่า ลักษณะที่พบจากการศึกษาจะมีความสอดคล้องกับลักษณะทางการเมืองแบบใด การวิจัยเรื่องนี้ใช้การศึกษาแบบสำรวจ ทำการวิจัยระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2535 ถึง 31 ตุลาคม 2535 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และใช้ตัวอย่างการวิจัยจำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ทั้งเพศหญิงและเพศชายจะมีลักษณะของแรงจูใจ, ทัศนคติ, บุคลิกภาพและอุปนิสัยทางการเมืองที่คล้ายคลึงกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระดับการศึกษา อาชีพและสถานะทางเศรษฐกิจ (รายได้) พบว่า แรงจูงใจ, ทัศนคติ, บุคลิกภาพและอุปนิสัยทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมโดยภาพรวม พบว่า ผู้มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งในจังหวัดมหาสารคาม มีแรงจูงใจทางการเมืองที่คล้ายคลึงกัน และมีทัศนคติ, บุคลิกภาพและอุปนิสัยทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยสรุป ผู้มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งในจังหวัดมหาสารคาม จะมีแรงจูงใจ, ทัศนคติ, บุคลิกภาพและอุปนิสัยทางการเมือง ที่สอดคล้องกันลักษณะทางการเมืองแบบผสมที่เน้นด้านประชาธิปไตยมากกว่าอำนาจนิยม

Share

COinS