Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของพัฒนากร : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสมุทรสาคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Factors attributing to the successful performance of community development workers: a case study of Samut Sakhorn Province

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

วิทยา สุจริตธนารักษ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การปกครอง

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.481

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษากรรมวิธีปฏิบัติงานของพัฒนากร เรื่องปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของพัฒนากรศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงวิธีการและปัจจัยซึ่งช่วยให้พัฒนากรประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ในงานพัฒนาชุมชน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนากรประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ ความเป็นผู้นำตามอำนาจหน้าที่ บุคลิกภาพส่วนตัว และความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ต่อบุคคลและชุมชนตรงตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ และในการปฏิบัติหน้าที่ของพัฒนากรในแต่ละโครงการหรือกิจกรรมพัฒนากรจะต้องใช้ปัจจัยทั้ง 3 อย่างดังกล่าว ในลักษณะผสมผสานกันไปในเรื่องปัจจัยความเป็นผู้นำตามอำนาจหน้าที่ พัฒนากรจะใช้ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นผู้นำที่ใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อประชาชนยอมรับและปฏิบัติตามนโยบาย ในขณะเดียวกันก็ใช้ภาวะผู้นำที่เป็นลักษณะของผู้นำแบบจูงใจและผู้นำแบบร่วมใจเพื่อเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเป็นการเสริมความเชื่อถือศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพัฒนากรให้มากขึ้น นำไปสู่การยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ นอกจากนี้พัฒนากรส่วนใหญ่ยังยอมรับว่าบุคลิกภาพของตนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ได้รับความสำเร็จอย่างมากอีกส่วนหนึ่ง และในด้านปัจจัยการสร้างความสัมพันธ์ของพัฒนากร ผลการวิจัยพบว่าขั้นตอนการเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ของพัฒนากรต่อชุมชน พัฒนากรแต่ละคนมีวิธีการที่คล้าย ๆ กันนั่นคือ การดำเนินงานที่ยึดผู้นำเป็นหลักทั้งผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำงาน ความถี่ในการออกปฏิบัติราชการท้องที่ก็มีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ของพัฒนากร ซึ่งหมายถึงการออกท้องที่ในตำบลหมู่บ้านที่รับผิดชอบเป็นประจำสม่ำเสมอ การเข้าไปสร้างความสัมพันธ์โดยการออกพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนพร้อมทั้งการให้ข่าวสารข้อมูล การแนะนำประชาชนในเรื่องกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ ฯลฯ สามารถสร้างความสัมพันธ์ในระดับความใกล้ชิดความไว้วางใจ การช่วยเหลือพึ่งพากันได้อย่างรวดเร็ว

Share

COinS