Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูป ระหว่างโรงงานในโครงการหลวงอาหารสำเร็จรูป

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Comparative study on production cost of tomoto and baby corn products of Royal Project Food Processing Section

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ดนุชา คุณพนิชกิจ

Second Advisor

วิสาขา ภูมิรัตน

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

บัญชีมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การบัญชี

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.461

Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูประหว่างโรงงานในโครงการหลวงอาหารสำเร็จรูป 4 โรงงาน ในภาคเหนือโรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งอยู่ที่จังหวัดสกลนครและจังหวัดบุรีรัมย์ จากการศึกษาโครงสร้างต้นทุนการผลิตพบว่า ทุกโรงงานมีโครงสร้างต้นทุนที่สำคัญเหมือนกัน คือวัตถุดิบ ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตโดยเฉพาะส่วนที่เป็นค่าภาชนะบรรจุใช้ไปและค่าเชื้อเพลิงใช้ไป ค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ได้แก่ ค่าสารเคมี เงินเดือน ค่าวัสดุใช้ไป ค่าซ่อมแซมและค่าเสื่อมราคา การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การวิเคราะห์รายเดือนแล้วรวมเฉลี่ยเป็นรายปี ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะปี พ.ศ.2531 เพื่อดูความแตกต่างของต้นทุนในแต่ละเดือน และการวิเคราะห์เป็นรายปีรวม 3 ปี ในปี พ.ศ.2529 ถึง พ.ศ.2531 เพื่อดูแนวโน้มของต้นทุน ซึ่งพบว่าลดลงเนื่องจากการพัฒนาระบบการผลิตและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ผลการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตในปี พ.ศ.2531 สรุปได้ว่าโรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีต้นทุนการผลิตมะเขือเทศสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมต่ำกว่าโรงงานในภาคเหนือ แต่มีต้นทุนการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมสูงกว่า ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในปริมาณวัตถุดิบ ปริมาณการผลิต และวิธีการใช้ปัจจัยการผลิต สำหรับการวิเคราะห์ในช่วง 3 ปี สรุปได้ว่าต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของโรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่ำกว่าภาคเหนือ จากการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สรุปได้ว่าต้นทุนการผลิตมะเขือเทศและข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมระหว่างโรงงานในแต่ละภาคส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตมะเขือเทศสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของโรงงานในภาคเหนือไม่สูงกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญ และต้นทุนการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนสำเร็จรูปเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของโรงงานในภาคเหนือก็ไม่ต่ำกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน การศึกษาทำให้ทราบถึงปัญหาด้านการผลิตที่โรงงานประสบอยู่ คือ การที่วัตถุดิบมีลักษณะเป็นผลผลิตตามฤดูกาลโดยเฉพาะมะเขือเทศ ทำให้มีผลต่อการบริหารแรงงานและการวางแผนการผลิต ปัญหาการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร รวมทั้งปัญหาการรวบรวมข้อมูลด้านการผลิตและการคำนวณต้นทุนการผลิตให้เป็นไปในแนวเดียวกันทุกโรงงาน เพื่อสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อการบริหารได้มากยิ่งขึ้น

Share

COinS